การบริหารจัดการวัสดุที่ไม่ใช้แล้วอย่างมีประสิทธิภาพ

 

 

ผู้มีส่วนได้เสียหลัก  : ภาครัฐและองค์กรภาคประชาสังคม / คู่ค้า / ชุมชน / พนักงาน

 

การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจส่งผลต่อความต้องการใช้ทรัพยากรที่เพิ่มขึ้นของประชากร เพื่อตอบสนองความต้องการบริโภคของประชากรแต่ทรัพยากรบนโลกใบนี้มีอยู่อย่างจำกัด เราจึงต้องมีการบริหารจัดการวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่เกิดขึ้นเพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์สูงสุด ภาคการผลิตนั้นก่อให้เกิดวัสดุที่ไม่ใช้แล้วอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ การจัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ชุมชน รวมถึงสุขภาพของมนุษย์ และยังมีส่วนก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เป็นประเด็นสำคัญในปัจจุบัน

กลุ่มมิตรผลจึงมีการนำแนวคิดขับเคลื่อนองค์กรสู่ความยั่งยืนผ่านโมเดลเศรษฐกิจ BCG (Bio-Circular-Green Economy Model) ควบคู่ไปกับการใช้ทรัพยากรจากธรรมชาติให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด เปลี่ยนสิ่งไร้ค่า...เป็นสิ่งที่มีคุณค่า (From Waste to Value) เกิดการหมุนเวียน สร้างสมดุลให้กับสิ่งแวดล้อม ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี รวมทั้งมุ่งมั่นปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการของเสียอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันและลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น

 

 

 

แนวทางการบริหารจัดการ

 

  1. ขับเคลื่อนองค์กรสู่ความยั่งยืนผ่านโมเดลเศรษฐกิจ BCG โดยสร้างความเข้มแข็งให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืนควบคู่ไปกับการใช้ทรัพยากรจากธรรมชาติให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด ด้วยการพัฒนาใน 3 ด้านหลัก คือ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) บริษัทนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาและต่อยอดจากอ้อยสู่น้ำตาล และนำผลิตภัณฑ์พลอยได้มาผลิตเป็นสินค้าที่มีประโยชน์ได้อีกมากมาย เช่น นำชานอ้อยมาผลิตเป็นไฟฟ้าชีวมวล นำกากน้ำตาลซึ่งยังมีคาร์โบไฮเดรตและแร่ธาตุอยู่ มาผลิตเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพ (เอทานอล) นำกากส่าซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์พลอยได้จากการผลิตเอทานอลมาผลิตเป็นปุ๋ยชีวภาพ นำยีสต์จากการกระบวนการผลิตเอทานอลมาผลิตเป็นแหล่งโปรตีนสำหรับอาหารสัตว์ และสามารถนำน้ำตาลมาเพิ่มมูลค่าเป็นพรีไบโอติกส์เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางได้อีกด้วย 

 

  1. ดำเนินงานสอดคล้องกับนโยบายและกฎหมาย โดยดำเนินงานภายใต้นโยบายความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม รวมถึงปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด

 

  1. สร้างความตระหนักแก่พนักงานถึงปัญหาขยะที่ไม่สามารถนำมารีไซเคิลได้ โดยส่งเสริมให้พนักงานร่วมกันลดวัสดุที่ไม่ใช้ในชีวิตประจำวัน นำกลับมาใช้ใหม่ และคัดแยกขยะอย่างถูกวิธี

 

กลุ่มมิตรผลได้กำหนดกลยุทธ์การบริหารจัดการของเสียตามแนวคิดลำดับขั้นของการจัดการของเสีย (Waste hierarchy) ประกอบด้วย  การลดของเสียที่ก่อกำเนิด (Avoid/Reduce) การนำกลับมาใช้ซ้ำ (Reuse) การนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycling) และการนำกลับคืนอื่น ๆ เช่น การเปลี่ยนขยะให้เป็นพลังงาน (Recovery) เพื่อลดปริมาณของเสียที่นำไปกำจัดด้วยการเผาหรือการฝังกลบ  นอกจากนี้ บริษัทยังมีการกำหนดมาตรฐานการบริหารจัดการของเสียให้สอดคล้องตามหลักปฏิบัติสากลรวมถึงข้อกำหนดและกฎหมาย เพื่อให้เกิดการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

 

 

 

การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ

 

1. ปริมาณของเสียนำกลับมาใช้ประโยชน์

 

 

        หมายเหตุ:          - ของเสียนำมาใช้ประโยชน์ ได้แก่ การนำกลับมาใช้ใหม่ การรีไซเคิล ทำสารปรับปรุงดิน และการนำกลับคืนมาใหม่อื่นๆ

- ของเสียนำไปกำจัด ได้แก่ การเผาแปรรูปเป็นพลังงาน การเผาแปรรูปไม่เป็นพลังงาน การฝังกลบ การปรับเสถียร

  วัสดุที่ไม่ใช้แล้ว และการบำบัดด้วยวิธีต่างๆ

 

  1.  

2. ปริมาณของเสียที่นำไปกำจัดด้วยวิธีการฝังกลบ

 

 

 

3. โครงการ วัสดุปรับปรุงดินกรด – พาเนล พลัส หาดใหญ่

 

เป็นโครงการพลิกฟื้นผืนดินให้กลับมามีมูลค่า เป็นแหล่งทำมาหากิน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ของเกษตรกรในพื้นที่อำเภอเทพา อำเภอจะนะ จ.สงขลา และสร้างรอยยิ้มให้ชาวบ้านในพื้นที่ ด้วยการนำเถ้าซึ่งเป็นวัสดุเหลือใช้จากโรงงาน มาแทนปูนโดโลไมท์เพื่อปรับปรุงคุณภาพของดินซึ่งเป็นกรดอยู่เดิมให้มีคุณภาพที่ดีขึ้นเหมาะสมกับการเพาะปลูก ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวเป็นการทำงานร่วมกันกับภาคีเครือข่าย ภาครัฐ และกลุ่มเกษตรกรกลุ่มนำร่อง โดยเริ่มตั้งแต่การขออนุญาตนำของเสียออกนอกโรงงาน สก. 2 ติดตามการขนส่งเถ้าไปส่งถึงพื้นที่เกษตรกรที่กำหนด และการให้ความรู้ในการใช้เถ้าอย่างถูกต้อง ตลอดจนการติดตามผลการดำเนินการ

 

 

4. การมีส่วนร่วมขับเคลื่อน BCG

 

กลุ่มมิตรผล ให้ความสำคัญกับแนวคิด BCG (Bio - Circular - Green Economy) เป็นอย่างมาก พร้อมทั้งตระหนักถึงการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนเพื่อผลักดันแนวคิดดังกล่าว จึงได้สนับสนุนให้เกิดการจัดงาน Isan BCG Expo 2022 ภายใต้แนวคิด Collaboration “ร่วมอยู่ ร่วมเจริญ”

 

งานดังกล่าวนับเป็นมหกรรมนวัตกรรมยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอีสานและครั้งแรกในประเทศไทย ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 9 – 12 ธันวาคม 2565 ณ  Khon Kaen Innovation Center และบริเวณโดยรอบ อาทิ ย่านศรีจันทร์, เทศบาลเมืองนครขอนแก่น และถนนไก่ย่าง จังหวัดขอนแก่น โดยตลอดระยะเวลาของงานฯ กลุ่มมิตรผลมีการจัดแสดงบูธนิทรรศการ "MITR PHOL BIOECONOMY" บริเวณถนนไก่ย่าง ซึ่งนำเสนอธุรกิจของกลุ่มมิตรผล ที่นำองค์ความรู้ การวิจัย นวัตกรรม และเทคโนโลยีดิจิทัล มาพัฒนาจนเกิดเป็นผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ช่วยต่อยอดทรัพยากรชีวภาพสู่ผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง เพื่อเพิ่มขีดความสามาถให้แก่ภาคเกษตรของไทย ควบคู่กับการสร้างความยั่งยืนให้กับชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับแนวคิด BCG (Bio - Circular - Green Economy) และบูธนิทรรศการ "MITR PHOL NET ZERO MILESTONE" ซึ่งนำเสนอแนวทางลดการปล่อยคาร์บอนฯ เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ของกลุ่มมิตรผลภายในปี 2593

 

          

                                             กลุ่มมิตรผลเข้าร่วมงาน Isan BCG Expo 2022