การสูญเสียอาหารและขยะอาหาร
ความท้าทาย
มิตรผลเป็นผู้ผลิตอาหารชั้นนำของโลก ที่ให้ความสำคัญกับการการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน และให้ความใส่ใจในประเด็นที่ผู้มีส่วนได้เสียให้ความสนใจ โดยเฉพาะประเด็นเรื่องการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร ซึ่งบริษัทฯ ตระหนักว่า เป็นการลดทอนโอกาสในการเข้าถึงแหล่งอาหารของกลุ่มเปราะบาง อีกทั้งเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ก่อให้เกิดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกอันจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นสาเหตุที่สำคัญของภาวะโลกรวน (Climate Change)
ความมุ่งมั่นและแนวทางการบริหารงาน
บริษัทฯ จึงมุ่งมั่นบริหารจัดการ เพื่อลดการสูญเสียอาหาร (น้ำตาล) ที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต และขยะอาหาร ตลอดห่วงโซ่คุณค่า เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความยั่งยืนในการผลิตและการบริโภค สร้างความมั่นคงทางอาหาร และการลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อีกทั้งสนับสนุนการตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ (United Nations Sustainable Development Goals) ข้อที่ 12.3 อีกด้วย
คลิกเพื่อดูนโยบายด้านการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร
เป้าหมายในการดำเนินงาน
บริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนของสหประชาชาติ เรื่องการสูญเสียอาหาร และขยะอาหาร โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. ส่งเสริมการลดการสูญเสียอาหาร และขยะอาหารในห่วงโซ่คุณค่า |
2. ลดปริมาณการสูญเสียอาหารในกิจกรรมการดำเนินการของบริษัท |
โดยตั้งเป้าหมาย 3 ปี เป็น ลด Overall Average Recovery = 84.7 % ภายในปี 2567 |
หมายเหตุ: Overall Recovery คือ ประสิทธิภาพการผลิตของน้ำตาลโดยรวมซึ่งหาได้จาก |
% Overall Recovery = 100 - Total Loss |
Total Loss = Sugar loss in bagasse, filter cake, final molasses และ undetermined loss |
![]() |
ผลการดำเนินงาน
โครงการในการลดการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร
บริษัทมีการศึกษาและเก็บข้อมูลการสูญเสียอาหารในรูปของน้ำตาลทรายตลอดห่วงโซ่คุณค่า เพื่อลดปริมาณการสูญเสียน้ำตาลทรายที่ไปกับชานอ้อย กากหม้อกรอง โมลาส และความสูญเสียโดยไม่ทราบสาเหตุ เช่น การรั่วไหล การสูญเสียซูโครสด้วยจุลินทรีย์และความร้อน เป็นต้น โดยได้จัดทำโครงการต่างๆ เพื่อลดการสูญเสียน้ำตาล เช่น
|
|
|
|
|
น้ำตาลที่ติดไปกับชานอ้อยจะถูกนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงชีวมวล น้ำตาลที่ติดไปกับกากหม้อกรองจะถูกนำไปใช้เป็นปุ๋ย และน้ำตาลที่ติดไปกับโมลาสจะถูกนำใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเอทานอล ตามห่วงโซ่คุณค่าของมิตรผล
ทั้งนี้บริษัทยังมีการดำเนินงานร่วมกับชาวไร่อ้อย เพื่อควบคุมปริมาณการขนส่ง เพื่อไม่ให้อ้อยตกหล่นระหว่างทาง และยังมีการออกแบบและพัฒนาขนาดบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมกับพฤติกรรมการใช้งานของผู้บริโภค เพื่อช่วยลดปริมาณขยะอาหารที่เกิดขึ้น