ความท้าทาย
การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานเป็นเรื่องที่กลุ่มมิตรผลให้ความสำคัญในการดำเนินการ เพื่อให้บริษัทสามารถจัดหาวัตถุดิบ ผลิต และส่งมอบถึงมือลูกค้าได้อย่างมีคุณภาพ ตรงเวลา และสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้ลูกค้า โดยเริ่มตั้งแต่การคัดเลือกคู่ค้า การปรับปรุงกระบวนการผลิต การจัดเก็บ การจัดส่ง ตลอดจนการกำกับดูแลความเสี่ยงและธรรมาภิบาลตลอดห่วงโซ่อุปทาน เพื่อยกระดับศักยภาพองค์กรและคู่ค้าเพื่อมุ่งสู่การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ถึงแม้สถานการณ์ในช่วงปี 2564 ที่ผ่านมานั้นจะยังคงพบกับความท้าทายจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ประกอบกับสภาวะเศรษฐกิจในด้านต่างๆ รวมไปถึงกระแสของสภาวะการการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากพฤติกรรมและกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ที่ทำให้หลายประเทศ หลายองค์กร หันมาให้ความสนใจในเรื่องสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น กลุ่มมิตรผลได้ตระหนักถึงความท้าทายต่างๆ ที่เกิดขึ้นจึงได้มีระบบบริหารความเสี่ยงของคู่ค้าตามกลุ่มประเภทสินค้าและบริการ (Supply Position Model) โดยมีขั้นตอนที่รัดกุมในการตรวจสอบคุณสมบัติคู่ค้าทุกรายที่จะขอขึ้นทะเบียนเป็นคู่ค้าของบริษัท จึงทำให้การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานมีประสิทธิภาพและผ่านพ้นจากภาวะที่เกิดขึ้นได้ พร้อมทั้งส่งเสริมการยกระดับความรู้ ความสามารถของคู่ค้า เพื่อเสริมสร้างการเติบโตไปด้วยกันในระยะยาว
ความมุ่งมั่นและแนวทางบริหารจัดการ
กลุ่มมิตรผลมีนโยบายจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืน และจรรยาบรรณคู่ค้ามิตรผล ซึ่งมีเนื้อหาครอบคลุมประเด็นด้านจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ สิทธิมนุษยชน สิทธิแรงงาน ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งสื่อสาร และตรวจสอบให้คู่ค้าปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ยังได้นำมาตรฐานสากลมาเป็นกรอบแนวทางการดำเนินงาน เช่น มาตรฐานแนวทางการจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืน ISO 20400:2017 มาตรฐานการผลิตอ้อยและน้ำตาลเพื่อความยั่งยืนบองซูโคร (BONSUCRO) และมาตรฐานการรับรองการจัดการสวนป่า (Forest Stewardship Council) สำหรับบริหารเกษตรกรชาวสวนยางพารา รวมไปถึงได้มีโครงการต่างๆที่มีแสดงถึงความมุ่งมั่นในการลดการใช้ทรัพยากร และมีแนวทางการทำงานที่ตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและให้ความสำคัญต่อการดำเนินงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอันจะเป็นการส่งเสริมเละร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
คลิกเพื่อดูนโยบายจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืน
คลิกเพื่อดูจรรยาบรรณคู่ค้ามิตรผล
บริษัทมีการใช้ระบบ MPS (Mitr Phol Procurement System – on web) เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางให้คู่ค้าเข้าถึงข้อมูลได้คล่องตัวขึ้นผ่านทางเว็บไซต์ ตั้งแต่การขอสมัครเป็นคู่ค้ารายใหม่ของกลุ่มมิตรผล การติดตามสถานะใบสั่งซื้อสินค้าหรือใบเสนอราคา ตลอดจนเป็นช่องทางสำหรับสื่อสารประชาสัมพันธ์ข่าวสารให้กับคู่ค้าได้แบบ Real Time โดยข้อมูลจะเชื่อมโยงกับ SAP ซึ่งเป็นฐานข้อมูลของหน่วยงาน
ทั้งนี้กลุ่มมิตรผลได้มีการจำแนกคู่ค้าออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ คู่ค้าส่วนกลาง และคู่ค้าวัตถุดิบ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
![]() |
บริษัทยังมีการจำแนกคู่ค้าตามปริมาณยอดการสั่งซื้อ (Spend Analysis) และระดับความสำคัญของสินค้า เพื่อกำหนดแผนและกลยุทธ์ในการบริหารจัดการคู่ค้าให้มีประสิทธิภาพ โดยเกณฑ์การจำแนกคู่ค้าที่มีความสำคัญ (Critical Supplier) ของบริษัทมีดังนี้
|
|
|
|
เพื่อลดความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจกลุ่มมิตรผลมีระบบบริหารความเสี่ยงของคู่ค้าตามกลุ่มประเภทสินค้าและบริการ (Supply Position Model) โดยมีขั้นตอนที่รัดกุมในการตรวจสอบคุณสมบัติคู่ค้าทุกรายที่จะขอขึ้นทะเบียนเป็นคู่ค้าใหม่ของบริษัท มีการตรวจประเมินผลการดำเนินงานคู่ค้า โดยมีการตรวจประเมินในสถานประกอบการคู่ค้า หรือผ่านแบบสอบถามประเมินคู่ค้าเป็นประจำทุกปี พร้อมทั้งแจ้งผลการประเมินกับคู่ค้า ซึ่งเกณฑ์การประเมินมีความครอบคลุม และหลากหลาย เช่น การควบคุมการผลิต คุณภาพและมาตรฐานของสินค้า รวมทั้งยังมีประเด็นด้านความยั่งยืนเป็นหนึ่งในเกณฑ์ประเมินคู่ค้าที่สำคัญอีกด้วย
นอกจากนี้บริษัทยังได้จัดประชุมร่วมกับคู่ค้าเป็นประจำทุกปี เพื่อสื่อสารจรรยาบรรณคู่ค้ากลุ่มมิตรผลให้รับทราบ สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบการจัดหาสินค้าและบริการของบริษัท พัฒนาความรู้ในประเด็นใหม่ๆ รวมทั้งรับฟังความคิดเห็น และความคาดหวังของคู่ค้าเพื่อพัฒนากระบวนการทำงานร่วมกัน ซึ่งถือเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อคู่ค้า ช่วยลดความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ ยกระดับประสิทธิภาพของคู่ค้าและบริษัท เพื่อสร้างการเติบโตทางธุรกิจร่วมกันอย่างยั่งยืน
การดำเนินงานที่สำคัญ
1. โครงการการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว (Green Procurement)
จากสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน ประกอบกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น เช่น การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ปัญหามลพิษ การลดลงของทรัพยากรอันเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของประชากรมนุษย์ และปัญหาการใช้ทรัพยากรที่ไม่เหมาะสมซึ่งส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อการดำรงชีวิต ทางกลุ่มมิตรผลเองได้ให้ความสำคัญกับปัญหาในประเด็นนี้ โดยมีความมุ่งมั่นที่จะสร้างธุรกิจให้มีความยั่งยืน บนพื้นฐานความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม จึงได้นำมาตรฐานสากลมาเป็นกรอบแนวทางการดำเนินงาน เช่น มาตรฐานแนวทางการจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืน ISO 20400:2017 กำหนดเป็นนโยบายจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืน โดยเริ่มจากโครงการ การจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมและสนับสนุนผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อประหยัดพลังงาน ลดการปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม หรือระบบจัดการของเสียที่มีประสิทธิภาพมากกว่าที่กฎหมายกำหนด มาใช้ร่วมกับการบริหารจัดการอย่างบูรณาการ เพื่อให้มั่นใจถึงความสามารถในการส่งมอบสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ ปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยในปี 2564 มีมูลค่าการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จำนวน 1.9 พันล้านบาท จากคู่ค้า 109 ราย คิดเป็น 10% ของมูลค่าการจัดซื้อจัดจ้างตลอดทั้งปี ประกอบได้ด้วยสินค้าและบริการประเภท เครื่องใช้ไฟฟ้า การทำความสะอาด อุปกรณ์ก่อสร้าง เครื่องใช้ในสำนักงาน ผลิตภัณฑ์กระดาษ ยานพาหนะและอุปกรณ์เสริม สำหรับในปี 2565 มีเป้าหมายให้ครอบคลุมสินค้าและบริการในหมวดหมู่อื่นๆ มากยิ่งขึ้น โดยมีเป้าหมายการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มอย่างน้อย 10% จากจำนวนคู่ค้าเดิมที่มีการสั่งซื้อจากปีก่อนหน้า
2. การประเมินผลการดำเนินงานของคู่ค้า (308-1)(408-1)(409-1)(414-1)
บริษัทมีการประเมินความเสี่ยงของคู่ค้าเริ่มตั้งแต่การคัดเลือกคู่ค้า เพื่อให้สอดคล้องกับระบบการบริหารความเสี่ยงของคู่ค้า คู่ค้ารายใหม่ที่จะขึ้นทะเบียนกับทางกลุ่มมิตรผลจะต้องผ่านการประเมินความเสี่ยงด้าน สิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการที่ดี (ESG) ครอบคลุมประเด็นด้านจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ สิทธิมนุษยชน สิทธิแรงงาน ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม โดยตั้งแต่ปี 2560 – 2564 บริษัทมีการประเมินความเสี่ยงด้าน ESG ของคู่ค้าสารเคมีที่ใช้ในกระบวนการผลิต บรรจุภัณฑ์ กลุ่มจ้างเหมาแรงงาน และคู่ค้าส่วนกลางรายใหม่ทุกราย และยังคงมีเป้าหมายที่จะประเมินความเสี่ยงของคู่ค้ากลุ่มดังกล่าวให้ครบทุกราย (ร้อยละ 100) ในปี 2565
ในปี 2564 บริษัทมีคู่ค้าทั้งหมด 40,540 ราย เป็นคู่ค้าหลัก ร้อยละ 99.6 และเป็นคู่ค้าทางอ้อม ร้อยละ 0.4 ของคู่ค้าทั้งหมด โดยมีคู่ค้าหลักที่สำคัญ ร้อยละ 1.6 ของคู่ค้าหลักทั้งหมด และมีคู่ค้าทางอ้อมที่สำคัญ ร้อยละ 24.2 ของคู่ค้าทางอ้อมทั้งหมด ซึ่งบริษัทมีค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อจากคู่ค้าหลัก ร้อยละ 94.60 ของคู่ค้าทั้งหมด โดยค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อจากคู่ค้าหลักที่มีความสำคัญ คิดเป็น ร้อยละ 19.73 ของคู่ค้าหลักทั้งหมด
นอกจากนี้ยังมีการประเมินคู่ค้าประจำปี โดยได้ดำเนินการตรวจประเมินในสถานประกอบการคู่ค้า หรือผ่านแบบสอบถามประเมินคู่ค้า ในปี 2564 มีคู่ค้าหลักได้รับการประเมิน ร้อยละ 95 จากคู่ค้าหลักทั้งหมด และพบว่าคู่ค้าหลัก ร้อยละ 54 จากคู่ค้าหลักที่ได้รับการประเมินมีความเสี่ยงด้านความยั่งยืนสูง โดยมีความเสี่ยงในด้านคุณภาพสินค้า และประเด็นอ้อยไฟไหม้ ซึ่งบริษัทมีการกำหนดแนวทางแก้ไขและติดตามผลการแก้ไขในคู่ค้าทุกราย อาทิเช่น โครงการมิตรผลโมเดิร์นฟาร์มเพื่อลดปริมาณอ้อยไฟไหม้
ทั้งนี้ไม่พบความเสี่ยงด้านแรงงานเด็ก แรงงานบังคับ โดยใน ปี 2564 มีการยุติการดำเนินงานกับคู่ค้าจำนวน 1 ราย จากประเด็นเรื่องคุณภาพสินค้าและการบริการ
3. การจัดงานประชุมสัมมนาและมอบรางวัลให้กับคู่ค้าประจำปี
กลุ่มมิตรผลได้จัดการประชุมสัมมนาและมอบรางวัลให้กับคู่ค้าที่มีผลงานดีเด่นเป็นประจำทุกปี เพื่อสื่อสารจรรยาบรรณคู่ค้ารวมถึงข้อมูลประชาสัมพันธ์ด้านต่างๆ ร่วมกันกับทางคู่ค้า ทั้งในด้านผลการดำเนินงาน แนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนขององค์กร ระบบมาตรฐานคุณภาพที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขาย รวมถึงรับฟังข้อเสนอแนะและความคาดหวังจากกลุ่มคู่ค้า เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนากระบวนการทำงานและเสริมสร้างบรรยากาศการทำงานที่ดีร่วมกันต่อไป โดยในปีที่ผ่านมาได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการประชุมเป็นรูปแบบออนไลน์ ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 22 เมษายน 2564 สำหรับคู่ค้าที่ผ่านเกณฑ์การประเมินผลงาน มีผลงานระดับดีเยี่ยม ติดต่อกัน 2 ปี จะได้รับประกาศนียบัตรและรางวัลพิเศษจากกลุ่มมิตรผล โดยมีจำนวน 14 ราย คิดเป็น 5% จากจำนวนคู่ค้าทั้งหมด โดยในปี 2654 ได้วางเป้าหมายในการพัฒนาการทำงานร่วมกันกับทางคู่ค้า โดยการยกระดับประสิทธิภาพการทำงาน เพื่อลดความเสี่ยงในการจัดการตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน โดยมีเกณฑ์พัฒนาคู่ค้าให้มีผลงานระดับดีเยี่ยมเพิ่มขึ้นเป็น 60% จากจำนวนคู่ค้าทั้งหมด ซึ่งในปีที่ผ่านมามีผลการดำเนินงานระดับดีเยี่ยมอยู่ที่ 51% นอกจากการแจ้งผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมาแล้วนั้น ยังได้สื่อสารถึงแนวทางในการดำเนินงานร่วมกันในอนาคตระหว่างความยั่งยืนกับสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น
4. การประเมินความพึงพอใจของคู่ค้า
ความคิดเห็นจากคู่ค้า ถือเป็นส่วนหนึ่งในการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการทำงานของกลุ่มมิตรผลให้ดียิ่งขึ้น โดยในปีที่ผ่านมานั้น ทางกลุ่มมิตรผลได้สำรวจความคิดเห็นด้วยแบบประเมินความพึงพอใจจากการทำงานของกลุ่มมิตรผลร่วมกับคู่ค้าในกลุ่มคู่ค้าหลักที่มีความสำคัญ โดยมีผลประเมินความพึงพอใจที่ 91.5% โดยในปี 2565 นั้นได้ตั้งเป้าผลคะแนนความพึงพอใจจากทางคู่ค้าให้สูงขึ้นเป็น 93% โดยได้พัฒนากระบวนการทำงานให้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สอดคล้องกับความคิดเห็นที่คู่ค้าได้สะท้อนมุมมองออกมา ช่วยลดความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ และสร้างการเติบโตทางธุรกิจร่วมกันอย่างยั่งยืนระหว่างคู่ค้าและกลุ่มมิตรผล
5. การจัดซื้อจัดหาในท้องถิ่น(204-1)
กลุ่มมิตรผลให้ความสำคัญในการสนับสนุนคู่ค้าท้องถิ่น เพื่อกระจายความเจริญไปสู่ท้องถิ่น โดยมีการจัดซื้อวัตถุดิบ เช่น อ้อย และสินค้าและบริการอื่นๆ เช่น บรรจุภัณฑ์ งานซ่อม เป็นต้น เพื่อใช้ในกลุ่มมิตรผล ทั้งนี้มีการจัดซื้อในท้องถิ่นปี 2564 คิดเป็นร้อยละ 94 ของค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อจัดหาทั้งหมด
6. การยกระดับศักยภาพในการส่งมอบวัตถุดิบของคู่ค้า
กลุ่มมิตรผลยังให้ความสำคัญในการพัฒนาและส่งเสริมเกษตรกรชาวไร่อ้อย และคู่ค้าส่งมอบวัตถุดิบไม้ เพื่อให้คู่ค้าได้มีมาตรฐานตามแนวทางการบริหารจัดการวัตถุดิบที่ยั่งยืน สามารถส่งมอบวัตถุดิบได้อย่างมีคุณภาพและต่อเนื่องให้กับบริษัท โดยมีรายละเอียดดังนี้
กลุ่มมิตรผลนำแนวทางการจัดการไร่อ้อยที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืนตามหลักเกษตรสมัยใหม่ “มิตรผล โมเดิร์นฟาร์ม” เข้ามาส่งเสริมให้แก่เกษตรกรชาวไร่อ้อย ด้วยการนำเทคโนโลยีเครื่องจักรการเกษตรที่ทันสมัยเข้ามาสนับสนุนการทำไร่อ้อย ประกอบไปด้วยหลักการสำคัญ 4 วิธี ได้แก่
![]() |
โดยหลักของ “มิตรผล โมเดิร์นฟาร์ม” นั้นจะช่วยให้ลดปริมาณการใช้สารกำจัดวัชพืชลง เพิ่มผลผลิตต่อไร่และปรับปรุงคุณภาพของอ้อย นอกจากนี้กลุ่มมิตรผลได้มีการรณรงค์การตัดอ้อยสด ลดการเผาไร่อ้อย ตลอดจนการส่งเสริมเรื่องการอนุรักษ์ดินและน้ำ รวมทั้งความรู้การจัดการเกษตรแม่นยำ ซึ่งช่วยให้เกษตรกรสามารถเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน ลดการใช้แรงงาน และสร้างวิถีการทำเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
คลิกเพื่อดูรายละเอียด “มิตรผล โมเดิร์นฟาร์ม”
จากสภานการณ์ภัยแล้งที่มีมาอย่างต่อเนื่อง กลุ่มมิตรผลจึงเน้นการทำงานเชิงรุก มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ รวมถึงให้หน่วยงานชลประทานดำเนินการสำรวจพื้นที่ของชาวไร่อ้อยคู่สัญญาอย่างละเอียดเพื่อแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุดเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับชาวไร่อ้อยถึงความมั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืนไปด้วยกัน โดยได้จัดทำโครงการพัฒนาระบบกระจายน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรในลักษณะของการบูรณาการแหล่งน้ำบาดาลร่วมกับน้ำผิวดินในพื้นที่ขาดแคลนน้ำ และเป็นพื้นที่นอกเขตชลประทานที่ประสบปัญหาภัยแล้งหรือน้ำท่วมซ้ำซากและยังส่งเสริมให้กลุ่มเกษตรกรมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำบาดาล โดยได้ก่อสร้างระบบกระจายน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรพร้อมอุปกรณ์ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบริหารจัดการน้ำบาดาลร่วมกับเกษตรกรผู้ใช้น้ำบาดาลให้เป็นไปอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ โดยมีเป้าหมายครอบคลุมพื้นที่เขตส่งเสริมการปลูกอ้อยของกลุ่มมิตรผลทั้ง 7 โรงงานและโครงการขยายทั่วประเทศกว่า 200 จุด ในงบประมาณ 100 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบันเริ่มดำเนินโครงการแล้วกว่า 92 จุด และจะดำเนินการส่วนที่เหลือภายในปี 2564
โดยผลประโยชน์ที่จะได้รับจากโครงการ มีดังนี้
กลุ่มมิตรผลมีเป้าหมายในการส่งเสริมให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยขุดเจาะบ่อบาดาล 20,000 บ่อ/ปี และสามารถใช้ได้ในพื้นที่ปลูกอ้อย 200,000 ไร่ โดยในปี 2564 ได้ดำเนินการขุดเจาะบ่อบาดาลครอบคลุมพื้นที่บ่อบาดาลสะสมจำนวน 180,987 ไร่ และมีจำนวนบ่อบาดาลสะสม 17,487 บ่อ รวมไปถึงได้ดำเนินการติดตั้งโซล่าเซลล์แล้ว 1,119 ชุด ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้กว่า 1,865 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี โดยปี 2565 มีเป้าหมายในการส่งเสริมโซล่าร์เซลล์ให้กับเกษตรกรจำนวน 1,500 ชุด/ปี ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้กว่า 2,500 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี และในปี 2568 ตั้งเป้าหมายให้เกษตรกรมีการใช้โซล่าร์เซลล์จำนวน 7,195 ชุด ซึ่งช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้กว่า 11,900 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
![]() |
|
นอกจากนี้มิตรผลยังมีการดำเนินโครงการสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าพร้อมระบบส่งน้ำบ้านหว้า-ดอนดู่ ตำบลกุดกว้าง อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น พื้นที่รับประโยชน์ 2,400 ไร่ เพื่อจัดส่งน้ำให้เกษตรกรมีน้ำใช้ ซึ่งเป็นโครงการที่ร่วมมือกัน 3 ภาคส่วน ได้แก่
1. ภาครัฐ (กรมชลประทาน) ดำเนินการก่อสร้างระบบสูบน้ำ-ส่งน้ำ สายหลัก ระยะทาง 5.4 กิโลเมตร
2. ภาคเอกชน (มิตรผล) ดำเนินการต่อยอดท่อส่งน้ำ สายหลัก เฟส 1 ระยะทาง 0.9 กิโลเมตร
3. ภาคประชาชน (ชาวไร่อ้อย/เกษตรกร) ดำเนินการใช้น้ำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยระบบน้ำหยดบนดิน
กลุ่มมิตรผลพัฒนาบุคลากรกลุ่มงานอ้อย ผ่านสถาบันมิตรผลโมเดิร์นฟาร์ม (MITR PHOL MODERNFARM ACADEMY) ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อให้ทุกคนดึงศักยภาพของตนเองออกมา เราจะช่วยติดอาวุความรู้ ความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ เพื่อให้พนักงานส่งเสริมสามารถค้นพบคำตอบสู่ความสำเร็จ เร่งการเปลี่ยนผ่านภาคเกษตรไทยสู่เกษตรสมัยใหม่ได้เร็วขึ้น ด้วยกระบวนการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 คือมีเนื้อหาที่ทันสมัยสอดคล้องกับผู้เรียน การเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติจริงเพื่อสร้างความมั่นใจในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ด้วยตนเอง เรียนรู้ได้ตลอดเวลาทุกที่ผ่าน MFA Application และมีพื้นที่สำหรับการเรียนรู้เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่อยอดสู่สิ่งใหม่ โดยมีเป้าหมายดำเนินการ ปีละ 60 คน
บริษัทยังดำเนินโครงการ Expert Mitr Phol ModernFarm เพื่อพัฒนาเจ้าหน้าที่ส่งเสริมระดับหัวหน้าเขตส่งเสริมจำนวน 205 คน ให้มีความเชี่ยวชาญในการทำงาน ในการทำไร่อ้อยแบบมิตรผลโมเดิร์นฟาร์ม เพื่อสามารถถ่ายทอดให้กับชาวไร่ได้อย่างถูกต้อง เน้นการฝึกภาคปฏิบัติทำไร่อ้อยแบบโมเดิร์นฟาร์มจริง ในปี 2564 จะมีการขยายผลการเรียนรู้สู่พนักงาน 200 คน และสู่ชาวไร่ส่งเสริมเพิ่มพื้นที่การทำไร่แบบโมเดิร์นฟาร์ม 10,000 ไร่ เพื่อเพิ่มรายได้และผลผลิต
สำหรับธุรกิจวัสดุทดแทนไม้ มีแนวทางในการพัฒนาคู่ค้าส่งมอบวัตถุดิบ โดยมุ่งเน้นการพัฒนา 3 ด้าน ดังนี้
ด้านเศรษฐกิจ
ด้านสังคม
ด้านสิ่งแวดล้อม