สิทธิมนุษยชน

 

 

ผู้มีส่วนได้เสียหลัก :  ผู้ถือหุ้น / ชาวไร่ / ชุมชน / คู่ค้า / ลูกค้าและผู้บริโภค / พนักงาน / ภาครัฐและภาคประชาสังคม

 

การให้ความเคารพต่อสิทธิมนุษยชนตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่า เป็นเรื่องที่กลุ่มมิตรผลตระหนักและให้ความสำคัญเสมอมา เพราะในการดำเนินธุรกิจย่อมต้องมีความเกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายฝ่าย เช่น พนักงาน คู่ค้า ชาวไร่ ผู้ถือหุ้น ลูกค้า ชุมชน เป็นต้น อีกทั้งกลุ่มมิตรผลยังมีการขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง โอกาสที่จะพบประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้นในหน่วยกิจกรรมดำเนินงานจึงยังคงมีความเป็นไปได้ ดังนั้นการสร้างความเข้าใจและความตระหนักเรื่องสิทธิมนุษยชนให้กับบุคลากรมิตรผล จึงเป็นเรื่องสำคัญและต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง รวมถึงสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือในการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะเกิดการขับเคลื่อนการดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชนตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน

 

ปัจจุบันหลักการเคารพต่อสิทธิมนุษยชนได้รับความสำคัญมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง องค์กรต่างๆ ทั่วโลกถูกผลักดันให้ต้องดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงการเคารพต่อสิทธิมนุษยชน จากการขับเคลื่อนด้วยนโยบายการค้าระหว่างประเทศ รวมถึงการให้ความสำคัญของผู้บริโภค จึงถือเป็นโอกาสที่สำคัญของหลายบริษัททั่วโลกในการขานรับนโยบายดังกล่าว และเตรียมพร้อมในการดำเนินธุรกิจที่ใส่ใจและคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน เพื่อร่วมมือกันในการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนร่วมกันได้อย่างยั่งยืน

 

 

 

แนวทางบริหารจัดการ

 

คณะกรรมการบริษัทกำหนดให้มีนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อกำกับดูแลการดำเนินงานให้สอดคล้องตามกฎหมาย และหลักสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน อาทิ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights; UDHR) ข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (United Nations Global Compact หรือ UNGC) รวมถึงหลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (The International Labor Organization’s Declaration on Fundamental Principles and Rights at Work) ในทุกกิจกรรมทางธุรกิจทั้งภายในบริษัท รวมถึงสนับสนุนให้คู่ค้าและผู้ร่วมธุรกิจตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) มีส่วนร่วมในการดำเนินธุรกิจโดยเคารพถึงสิทธิมนุษยชน และนำหลักการเรื่องสิทธิมนุษยชนตามนโยบายนี้ไปปรับใช้ อีกทั้งยังได้มีการกำหนดนโยบายที่สำคัญแยกเป็นเรื่องต่างๆ เพื่อให้มีข้อกำหนดที่ชัดเจนในแต่ละประเด็นสำคัญอีกด้วยและกำหนดให้มีการทบทวนนโยบายให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ

 

คลิกเพื่อดูนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน

 

ในการบริหารจัดการด้านสิทธิมนุษยชน เราได้นำกระบวนการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence; HRDD) ตามหลักการชี้แนะเรื่องสิทธิมนุษยชนสำหรับธุรกิจแห่งสหประชาชาติ (United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights; UNGP) มาใช้เป็นกรอบในการทำงานอย่างชัดเจน ครอบคลุมทุกกิจกรรมทางธุรกิจในประเทศไทย และกิจกรรมทางธุรกิจในห่วงโซ่อุปทาน (คู่ค้าและผู้ร่วมธุรกิจ) รวมถึงการลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้อง (การควบรวมและการเข้าซื้อกิจการ รวมถึงกิจการร่วมค้า) และครอบคลุมทุกพื้นที่ปฏิบัติงานในประเทศไทยที่บริษัทมีพื้นที่ปฏิบัติการ โดยมีกระบวนการ ดังภาพ

 


                    กระบวนการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน

 

เพื่อให้การดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนเป็นไปด้วยความโปร่งใส ผู้มีส่วนได้เสียสามารถทราบถึงประเด็นได้อย่างทั่วถึงและสามารถเข้าดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ กลุ่มมิตรผลได้กำหนดให้ “ทุกคน” ตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทานสามารถที่จะแจ้งข้อมูล ให้เบาะแส รวมถึงสามารถร้องเรียน ผ่านกลไกการรับข้อร้องเรียนของกลุ่มมิตรผลด้วยช่องทางที่หลากหลาย เพื่อให้สามารถเข้าถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่างๆ ได้เป็นวงกว้าง กระบวนการร้องเรียนของมิตรผลนั้น ได้ยึดถือตามแนวทางสากล โดยกำหนดให้ผู้แจ้งสามารถที่จะไม่เปิดเผยตัวตน มีมาตรการในการรักษาความลับและคุ้มครองผู้เกี่ยวข้อง มีระยะเวลาในการดำเนินการที่ชัดเจน และมีการสื่อสารทั้งกระบวนการและช่องทางการร้องเรียนผ่านหลากหลายช่องทาง เช่น เว็บไซต์ภายใน Mymitrphol เว็บไซต์ภายนอก www.mitrphol.com/whistleblowing  Email: cg@mitrphol.com และจดหมาย เป็นต้น

 

คลิกเพื่อดูแนวปฏิบัติในการร้องเรียน

 

 

 

การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ

 

1. การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน (Human Rights Risk Assessment)

 

ในปี 2565 กลุ่มมิตรผลได้มีการกำหนดและทบทวนนโยบาย รวมถึงแนวปฏิบัติที่สำคัญๆ ซึ่งส่งเสริมให้เกิดความเคารพต่อสิทธิมนุษยชน เช่น นโยบายความปลอดภัยอาหาร กำหนดให้มีเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคลล เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการทบทวนการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนเป็นประจำทุก 3 ปี โดยพิจารณาครอบคลุมถึงประเด็น การบังคับใช้แรงงาน การค้ามนุษย์ การใช้แรงงานเด็ก เสรีภาพในการสมาคม สิทธิในการรวมตัวและเจรจาต่อรอง การกำหนดค่าตอบแทนที่เป็นธรรม การเลือกปฏิบัติ การคุกคาม และประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่อาจส่งผลกระทบต่อกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของบริษัท และกลุ่มผู้เปราะบาง เช่น พนักงาน เด็ก ผู้หญิง ผู้บกพร่องทางร่างกาย แรงงานต่างด้าว ชุมชนท้องถิ่น เป็นต้น โดยได้มีการกำหนดมาตรการควบคุมความเสี่ยงที่สำคัญในแต่ละด้าน ดังนี้

 

ความเสี่ยงที่สำคัญ ตัวอย่างมาตรการควบคุมในปัจจุบัน
1. แรงงาน  

1) ความปลอดภัยและ

    สุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน

1.1 มีนโยบายความปลอดภัยและมาตรฐานการปฏิบัติงานและเครื่องมือ อุปกรณ์

1.2 มีการกำหนดกฎพิทักษ์ชีวิตตามความเสี่ยงของแต่ละกลุ่มธุรกิจ และการตรวจประเมินด้านความปลอดภัย

     ทั่วทั้งองค์กร และส่งเสริมการมีส่วนร่วมแต่ละโรงงานตามกรอบการดำเนินงานด้านความปลอดภัยฯ

     (SSHE Framework) 

1.3 มีการฝึกอบรมให้ความรู้เรื่องความปลอดภัยในการทำงาน และการทำงานในพื้นที่เสี่ยง ให้แก่ พนักงาน

     ชาวไร่ และผู้รับเหมา

1.4 มีการจัดเตรียมอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลให้กับพนักงานและผู้รับเหมา

1.5 มีโครงการสังเกตพฤติกรรมความปลอดภัย (Behavior Base Safety) และการรายงานสภาพที่ไม่ปลอดภัย

     เพื่อแก้ไข

1.6 มีการลงทะเบียนหญิงตั้งครรภ์ เพื่อรับทราบจำนวนพนักงานตั้งครรภ์ในแต่ละปี และจัดให้มีการปรับเปลี่ยน

     ตำแหน่งงานเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายขณะตั้งครรภ์มากยิ่งขึ้น

2) ความชัดเจนในเงื่อนไข

    ของการจ้างแรงงาน

    ในห่วงโซ่อุปทาน

2.1 มีคู่มือการปฎิบัติงานด้านทรัพยากรบุคคลและแรงงานจ้างเหมา
2.2 มีการลงนามเพื่อรับทราบเนื้อหาในคู่มือจรรยาบรรณของพนักงานและคู่ค้า

2.3 มีกระบวนการตรวจสอบการปฏิบัติตามเงื่อนไขของการจ้างแรงงานทั้งจากหน่วยงานภายในและภายนอก

2.4 มีกระบวนการส่งเจ้าหน้าที่พัฒนาบุคลากรอ้อย เข้าไปสื่อสารการไม่ใช้แรงงานเด็กในไร่อ้อยให้กับเกษตรกร

3) การนำบุตรหลานเข้ามา

    ในพื้นที่ปฏิบัติงาน

3.1 มีระบบควบคุมและตรวจสอบการเข้า-ออกพื้นที่โรงงานในทุกธุรกิจ

3.2 ให้ความรู้และทำความเข้าใจกับชาวไร่ รวมถึงมีกระบวนการสอบตรวจในพื้นที่ไร่อ้อย
3.3 มีศูนย์เด็กเล็กสำหรับพนักงานใหม่ในกลุ่มธุรกิจน้ำตาล

2. ชุมชนและสังคม  

1) ความปลอดภัยและ

    วิถีการดำรงชีวิต

    ของคนในชุมชน

1.1 กระบวนการสำรวจพื้นที่ชุมชน และกระบวนรับข้อร้องเรียนที่ชัดเจน
1.2 กระบวนการไตรภาคีในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อหารือร่วมกันระหว่างโรงงาน ชุมชน
และหน่วยงาน

      ราชการ/เครือข่ายธรรมภิบาล
1.3 มีหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงในการสื่อสาร ดูแล และร่วมพัฒนาชุนชนอย่างยั่งยืน

1.4 จัดทำโครงการรับซื้อใบอ้อย เพื่อส่งเสริมการไม่เผาอ้อย และเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรชาวไร่

1.5 ตั้งเป้าหมาย การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ หรือ Net Zero เพื่อแก้ปัญหา และลดผลกระทบที่เกิด

     จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

2) การบริหารจัดการน้ำใช้

    ในการดำเนินธุรกิจ

2.1 จัดให้มีและปรับปรุงระบบบำบัดกลิ่นและอากาศ และระบบบำบัดน้ำทิ้ง

2.2 โครงการ Zero discharge โดยมีการนำน้ำที่ผ่านการบำบัดกลับมาใช้ใหม่

3) การจัดการของเสีย

   และมลภาวะ

3.1 มีระบบการเฝ้าระวังและติดตามควบคุมผ่านตัวชี้วัดที่สำคัญด้านสิ่งแวดล้อม และการนำแบบจำลอง

     ทางคณิตศาสตร์ (The American Meteorological Society/Environmental Protection Agency

     Regulatory Model Improvement Committee's Dispersion Model: AERMOD) เพื่อใช้ในการ

     จัดการมลพิษทางอากาศ

3.2 มีแผนการตรวจวัดค่าคุณภาพสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกโรงงานอย่างสม่ำเสมอ 

3.3 มีนโยบายจัดซื้อที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 

3.4 มีนโยบายจ้างคู่ค้าที่ได้รับการอนุญาตนำวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ออกนอกโรงงานเพื่อนำไปกำจัดตามประเภท

     ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด และขึ้นทะเบียนแล้วเท่านั้น

3. ผู้บริโภค  

1) สุขภาพและความ

    ปลอดภัยของ

   ผู้บริโภคผลิตภัณฑ์

   น้ำตาล

1.1 ดูแล ควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยของอาหารตามาตรฐานสากล ได้แก่ มาตรฐานระบบการบริหาร

     จัดการคุณภาพ (ISO9001:2015) / มาตรฐานระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหาร ( ISO22000) /

     หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหารและการจัดการด้านการควบคุมกระบวนการผลิต (GMP) ตลอดกระบวน

     การผลิตและขนส่ง

1.2 มีการตรวจสอบ และควบคุมสารปนเปื้อนในวัตถุดิบ เช่น สารกำจัดวัชพืช โลหะหนัก ให้เป็นไปตามมาตรฐาน

     ที่กำหนด

1.3 ใช้เทคโนโลยีใช้ในกระบวนการผลิตและบรรจุ เพื่อลดการสัมผัสของคน

1.4 มีการใช้มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 ตั้งแต่รับวัตถุดิบ การควบคุมบุคคลที่เกี่ยวข้องกับ

     การผลิต ขั้นตอนการผลิต และการส่งมอบ ตามระบบมาตรฐานสากล เช่น IPHA, Thai Stop Covid Plus

1.5 มีการสุ่มสำรวจความพึงพอใจของลูกค้าและผู้บริโภคอย่างสม่ำเสมอ และนำข้อมูลที่ได้มา แก้ไขป้องกันอย่าง

     เป็นระบบ

1.6 มีกระบวนการรับข้อร้องเรียนและข้อคิดเห็นจากลูกค้าและผู้บริโภค โดยมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่รับผิดชอบ

     โดยตรง

 

           


   

2. ความหลากหลาย ความเท่าเทียม และการยอมรับความแตกต่าง

 

บริษัทให้ความใส่ใจในการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน และเห็นความสำคัญของความหลากหลายของทุกคน พร้อมปฎิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม ไม่เลือกปฏิบัติไม่ว่าอายุ เพศ เชื้อชาติ สัญชาติ รวมทั้งให้โอกาสอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการสรรหา การจ้างงาน การพัฒนาและกำหนดค่าตอบแทน การเลื่อนตำแหน่ง ซึ่งมีการดำเนินการด้วยความโปร่งใสและยุติธรรม ไม่มีการใช้แรงงานบังคับในทุกรูปแบบตลอดการดำเนินธุรกิจ และไม่สนับสนุนให้มีการใช้แรงงานบังคับ รวมทั้งปราศจากการใช้แรงงานเด็กในห่วงโซ่อุปทานของเรา และยังมีการตรวจสอบภายในด้วยการประเมินมาตรฐานการบริหารงานด้านทรัพยากรบุคคล (HR Audit) เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทมีการดำเนินงานด้านแรงงานที่ดีและมีประสิทธิภาพ

 

 

3. เสรีภาพในการร่วมเจรจาต่อรอง

 

กลุ่มมิตรผลเคารพสิทธิของพนักงานในการเข้าร่วมเจราจาต่อรอง เปิดโอกาสให้มีการสื่อสารระหว่างผู้บริหารและพนักงานในการเจรจาเรื่องสิทธิประโยชน์ของพนักงานกับบริษัท ผ่านคณะกรรมการสวัสดิการของแต่ละบริษัท ซึ่งตัวแทนของพนักงานมาจากการเลือกตั้ง โดยพนักงานทั้งหมด 100% อยู่ภายใต้ข้อตกลงเจรจาร่วมกัน

 

 

4. กลไกการรับข้อร้องเรียน

 

ในการจัดการข้อร้องเรียนและข้อร้องทุกข์ในด้านสิทธิมนุษยชนที่ได้รับจากผู้มีส่วนได้เสียตลอดห่วงโซ่คุณค่าของกลุ่มมิตรผล บริษัทให้ความสำคัญและปกป้องผู้ร้องเรียน ร้องทุกข์ในด้านสิทธิมนุษยชน โดยกำหนดมาตรการเพื่อปกป้องสิทธิของผู้ร้องเรียน ผู้แจ้งเบาะแส ผู้ถูกร้องเรียน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการร้องเรียน รวมถึงมีมาตรการในการคุ้มครองและให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และได้กำหนดระยะเวลาในการจัดการข้อร้องเรียนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกระบวนการพิจารณาข้อร้องเรียนมีกำหนดระยะเวลาอยู่ที่ไม่เกิน 30 วัน  มีการตรวจสอบ แก้ไขปัญหา และแจ้งผลของการดำเนินงานกลับสู่ผู้ร้องเรียน ร้องทุกข์ ซึ่งช่องทางการรับข้อร้องเรียน ข้อร้องทุกข์ จะมีทั้งช่องทางภายในและช่องทางภายนอก ได้แก่ เว็บไซต์ภายใน Mymitrphol และเว็บไซต์ภายนอก www.mitrphol.com/whistleblowing  Email: cg@mitrphol.com

 

 

5. การเยียวยา

 

บริษัทให้ความสำคัญต่อการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน รวมทั้งมีการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นธรรม ในกรณีผู้ที่เสียหายเป็นพนักงาน เมื่อสิ้นสุดผลการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง  หากพบว่าไม่มีการกระทำความผิด บริษัทจะให้หน่วยงานทรัพยากรบุคคลแจ้งผลการสอบสวนไปยังพนักงานภายใน 14 วันทำการ นับตั้งแต่วันที่สอบสวนข้อเท็จจริงแล้วเสร็จ และดำเนินการเยียวยา โดยจัดทำหนังสือรับรองความประพฤติและจัดส่งไปยังหน่วยงานต้นสังกัดว่าไม่พบการกระทำความผิด ในกรณีพนักงานหากถูกคำสั่งพักงานระหว่างการสอบสวนและถูกหักค่าจ้าง พนักงานจะได้ค่าจ้างในส่วนที่หักไว้คืน กรณีพนักงานถูกกล่าวหา ถูกคำสั่งโอนย้ายตำแหน่งงาน จะพิจารณารับกลับในตำแหน่งเดิม หรือหากไม่มีตำแหน่งเดิมที่สามารถรับกลับสังกัดเดิมได้ ฝ่ายทรัพยากรบุคคลจะพิจารณาตำแหน่งงานที่เหมาะสมต่อไป หรือการเยียวยาในรูปแบบอื่นๆ เช่น การจ่ายเงินชดเชย การสนับสนุนค่ารักษาพยาบาล แต่หากพบว่ามีการกระทำความผิดจริง จะมีการพิจารณาโทษทางวินัยตามระเบียบขององค์กรต่อไป ตามสมควรแต่กรณี ได้แก่ การตักเตือนด้วยวาจา การตักเตือนเป็นหนังสือ การพักงานไม่เกิน 7 วัน โดยไม่ได้รับค่าจ้างพร้อมทั้งตักเตือนเป็นหนังสือ การปลดออกจากงาน และการไล่ออกจากงาน

 

นอกจากนี้ บริษัทยังให้ความสำคัญต่อผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง เช่น ลูกค้า ผู้รับเหมา ชุมชน หากได้รับผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนและภายหลังจากกระบวนการสอบสวนข้อเท็จจริงพบว่าบริษัทได้มีการละเมิดที่เกิดขึ้น ทางบริษัทจะให้การดูแลกับผู้มีส่วนได้เสียที่ได้รับผลกระทบในรูปแบบที่เหมาะสมแตกต่างกันตามบริบทของเหตุการณ์ หรือกรณีการละเมิดที่เกิดขึ้น

 

 

6. การต่อต้านการใช้แรงงานเด็ก 

 

การต่อต้านการใช้แรงงานเด็ก ยังคงเป็นสิ่งที่กลุ่มมิตรผลให้ความสำคัญและขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง โดยในทุกปีบริษัทจะส่งเจ้าหน้าที่พัฒนาบุคลากรอ้อย เข้าไปสื่อสารการไม่ใช้แรงงานเด็กในไร่อ้อยให้กับเกษตรกร เพื่อเน้นย้ำการดำเนินธุรกิจของกลุ่มมิตรผลที่ไม่ส่งเสริมไม่สนับสนุนการใช้แรงงานเด็กทั้งในพื้นที่โรงงานและไร่อ้อย

 

การประชาสัมพันธ์การต่อต้านการใช้แรงงานเด็ก

ในพื้นที่โรงงานและไร่อ้อย

การส่งเสริมความรู้และความเข้าใจด้านสิทธิมนุษยชน

 

 

7. การสร้างความตระหนัก และการสื่อสารกับบุคลากร

 

การสร้างความรู้และความเข้าใจเรื่องการเคารพต่อสิทธิมนุษยชนให้เป็นส่วนหนึ่งในวัฒนธรรมการทำงานและการดำเนินชีวิตแก่บุคลากรมิตรผล และเป็นภารกิจที่สำคัญที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องและครอบคลุมในทุกระดับ ซึ่งได้ทำการสื่อสารด้วยวิธีการที่หลากหลายผ่านช่องทางต่างๆ ทั้งภายในและภายนอก เช่น ในปี 2565 ได้จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ชุด “CG มีเรื่องเล่า” เพื่อสื่อสารประเด็นด้านจรรยาบรรณและสิทธิมนุษยชน และจัดให้มีการอบรมพนักงานเรื่องจรรยาบรรณมิตรผลและระเบียบข้อบังคับให้แก่พนักงานในกลุ่มมิตรผลทุกระดับ โดยมีหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน เช่น สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล การเลือกปฏิบัติและการล่วงละเมิดในสถานที่ทำงาน เป็นต้น บรรจุอยู่ในหลักสูตร Reskill-Upskill เพื่อสร้างความเข้าใจที่เกี่ยวข้องกับประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนต่อบุคลากรมิตรผลอย่างต่อเนื่อง

 

 

8. การทวนสอบการปฏิบัติงานที่สอดคล้องตามหลักการสากล

 

เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทมีการดำเนินงานที่สอดคล้องต่อนโยบายที่เกี่ยวข้องกับด้านสิทธิมนุษยชน กฎหมายและหลักสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน รวมถึงเปิดเผยให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับทราบถึงการดำเนินงาน และให้ข้อคิดเห็นในประเด็นที่ควรได้รับการปรับปรุงหรือดำเนินการเพิ่มเติม เพื่อให้ปฏิบัติงานของมิตรผลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้มีการกำหนดให้มีการทวนสอบการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งการทวนสอบภายใน และการทวนสอบโดยบุคลากรภายนอก โดยในปี 2565 ได้กำหนดให้มีการทวนสอบภายใน เช่น การประเมินมาตรฐานการบริหารงานด้านทรัพยากรบุคคล (HR Audit) การประเมินการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมข้ามโรงงาน (Cross Audit ISO 14001 &45001) เป็นต้น นอกจากนี้กลุ่มมิตรผลยังจัดให้มีการประชุมไตรภาคีรายโรงงาน เพื่อรับฟัง ติดตาม หารือแนวทางแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชนโดยตัวแทนชุมชนและหน่วยราชการ มีการตรวจประเมินจากลูกค้าอย่างต่อเนื่องทั้งที่เดินทางมาเยี่ยมชมโรงงานและการได้รับการรับรองมาตรฐานสากล เช่น Sedex Members Ethical Trade Audit (SMETA) มาตรฐานการผลิตอ้อยและน้ำตาลอย่างยั่งยืน (BONSUCRO) ระบบมาตรฐานการรับรองความปลอดภัยสำหรับการผลิตอาหาร (FSSC 22000) ISO 9000 และ ISO 14000 ซึ่งก็เป็นมาตรฐานที่ว่าด้วยระบบบริหารคุณภาพ และระบบบริหารสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ซึ่งได้มีการขยายขอบเขตการดำเนินการในมาตรฐานต่างๆให้ครอบคลุมทุกโรงงานที่เกี่ยวข้อง

 

 

9. รางวัลดีเด่นองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2565

 

ในปีนี้ กลุ่มมิตรผล โดยบริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด ได้รับรางวัลดีเด่นองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2565 ประเภทภาคธุรกิจขนาดใหญ่ ที่จัดขึ้นโดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 3 ซึ่งสะท้อนถึงความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจโดยให้ความสำคัญกับหลักสิทธิมนุษยชนสากล ภายใต้การตรวจสอบและประเมินอย่างรอบด้านซึ่งดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำแนวทางที่เป็นมาตรฐานมาปรับปรุงการดำเนินงานในองค์กร

 

 

นายวีระเจตน์ ว่องกุศลกิจ

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจน้ำตาลประเทศไทย พลังงาน และธุรกิจใหม่ กลุ่มมิตรผล

 

เป็นผู้รับมอ