การบริหารจัดการพลังงาน และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

 

ผู้มีส่วนได้เสียหลัก  : ผู้ถือหุ้น / เกษตรกร / ชุมชน / คู่ค้า / ลูกค้าและผู้บริโภค / ภาครัฐและภาคประชาสังคม  

 

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดย World Economic Forum ได้ระบุให้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นความเสี่ยงในลำดับต้น ๆ ของโลกทั้งในระยะสั้น และระยะยาว

 

อุตสาหกรรมเกษตร เป็นธุรกิจที่พึ่งพาสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะการเพาะปลูกอ้อย หากเกิดสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง เช่น ภาวะแห้งแล้ง ฝนตกรุนเเรงเเละน้ำท่วมหนัก การเกิดไฟป่า อุณหภูมิที่เพิ่มสูง ดินเสื่อมสภาพ รวมถึงโรคและแมลงศัตรูพืชระบาดที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ย่อมส่งผลต่อผลผลิต ซึ่งเป็นวัตถุดิบตั้งต้นของสินค้าของกลุ่มมิตรผล ภาวะดังกล่าวทำให้กลุ่มมิตรผล ชาวไร่ และผู้มีส่วนได้เสียต้องปรับตัวต่อผลกระทบที่เกิดขึ้น หาไม่สามารถปรับตัวจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงด้านอาหาร (Food security) และส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคที่ต้องเผชิญความเสี่ยงด้านราคาและคุณภาพอาหาร จากการที่ธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตร เป็นภาคส่วนที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งจากภาคการเพาะปลูก และภาคการผลิตสูง  ดังนั้น อุตสาหกรรมเกษตรจึงมีบทบาทสำคัญในการบรรเทาผลกระทบ (mitigation) จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  และต้องปรับตัว (adaptation) กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยร่วมรักษาระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมทั้งเพิ่มที่ป่าไม้และพื้นที่สีเขียว เพื่อให้เกิดสมดุลระหว่างการปล่อยกับการดูดกลับและกักเก็บคาร์บอน

 

แม้การเกิดผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นประเด็นความเสี่ยงที่ต้องรับมือ แต่ก็ยังคงเป็นโอกาสของกลุ่มมิตรผลในการเป็นแหล่งความมั่นคงทางอาหารที่สามารถต่อยอดสู่การผลิตพลังงานสีเขียว และผลิตภัณฑ์ชีวภาพ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตอบรับกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและผู้บริโภคที่มองหาวัตถุดิบชีวภาพทดแทนผลิตภัณฑ์ที่มีฐานการผลิตจากปิโตรเลียมเพื่อช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เรามองเห็นโอกาสว่า ภาคเกษตรจะมีส่วนสำคัญในสร้างความยั่งยืนในเรื่องนี้ เราจึงให้ความสำคัญกับพัฒนาวัตถุดิบตั้งแต่ต้นน้ำ และตลอดห่วงโซ่อุปทานเพื่อให้มีวัตถุดิบจากอ้อยและน้ำตาลที่มีคุณภาพในการต่อยอดเพื่อสร้างความยั่งยืนต่อไป

 

 

แนวทางบริหารจัดการ

 

พัฒนากระบวนการผลิตให้ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนและพลังงานทดแทน พัฒนาสินค้าและบรรจุภัณฑ์ที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพิ่มการกักเก็บคาร์บอนด้วยการปลูกป่า และสร้างความร่วมมือในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดห่วงโซ่อุปทาน โดยมีกรอบการดำเนินการบริหารจัดการพลังงาน และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ดังนี้

 

  • มีคณะกรรมการ Steering Committee ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อพิจารณากลยุทธ์ และกำกับการดำเนินงานเพื่อรับมือกับผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

 

  • เปิดเผยข้อมููลการบริหารจัดการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภููมิอากาศ ตามแนวทางของ Task Force on Climate-related Financial Disclosures (TCFD)

 

  • ทบทวนกลยุทธ์ แนวทางการจัดการตลอดห่วงโซ่อุปทาน และเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งในระยะสั้น และระยะยาว
    ให้สอดคล้องกับเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ Science-Based Targets initiative (SBTi) 
    และเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2593

 

สร้างความตระหนักและเข้าใจเกี่ยวกับการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแก่พนักงานรวมทั้งผสานความร่วมมือกับคู่ค้า ลูกค้า และ
หน่วยงานต่างๆ เช่น UN Global Compact Thailand, Thailand Carbon Neutral Network เพื่อขับเคลื่อนประเด็นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
   

 

 

การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ

 

กำหนดเป้าหมายตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ (Science-Based Targets initiative)

 

ในปี 2565 กลุ่มมิตรผลประกาศ Near-term target เป้าหมายในระยะสั้นสู่การเป็นองค์กรที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2573 และเป้าหมายในระยะยาวที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2593 ตามแนวทาง Science-Based Targets initiative (SBTi) เพื่อควบคุุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้สูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียส   

 

 

Task Force on Climate-related Financial Disclosures (TCFD)

 

กลุ่มมิตรผล นำกรอบการเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ หรือ Task Force on Climate-related Financial Disclosures (TCFD) มาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อให้บริษัทสามารถวิเคราะห์ธุรกิจและจัดทำกลยุทธ์ที่ตอบโจทย์ความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ สามารถจัดการความเสี่ยงที่สำคัญและเพิ่มโอกาสทางธุรกิจจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงให้ผู้มีส่วนได้เสียมีข้อมูลที่สำคัญในการตัดสินใจในการลงทุนและทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งให้ความมั่นใจได้ว่า บริษัทได้คำนึงถึงและจัดการความเสี่ยงเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศอย่างรอบคอบ

 

 

การประเมินความเสี่ยงและโอกาส เพื่อปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

 

บริษัทประเมินความเสี่ยง และโอกาสขององค์กรจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจ และการเงิน เพื่อจัดทำแนวทางการรับมือกับเหตุการณ์ต่างๆ สรุปดังนี้

 

 

คลิกเพื่อดู TCFD Report 2023

 

 

Corporate Carbon Footprint

 

กลุ่มมิตรผลดำเนินงานลดก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานของเรา และตลอดห่วงโซ่อุปทาน ในปี 2565 ประกอบด้วยจัดทำบัญชีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในองค์กร (Carbon footprint organization : CFO) ครอบคลุม 7 กลุ่มธุรกิจ เพื่อเป็นข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และทวนสอบข้อมูลปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากหน่วยงานภายนอก ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งสามขอบเขตรวม 2,420,241 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และได้รายงานแยกการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงทางชีวภาพ

 

 

สัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อรายได้กลุ่มมิตรผล (GHG emissions intensity)

 

กลุ่มมิตรผล มีการรายงานดัชนีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในองค์กรต่อรายได้ ทั้งใน 3 ขอบเขต ซึ่งรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกครอบคลุมชนิดก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด 7 ชนิด ได้แก่ CO2, CH4, N2O, HFCs, PFCs, SF6, NFC ดังนี้

 

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรง (ขอบเขตที่ 1) / รายได้

5.47 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า / ล้านบาท

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม (ขอบเขตที่ 2) / รายได้

0.76 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า / ล้านบาท

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่นๆ (ขอบเขตที่ 3) / รายได้

17.19 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า / ล้านบาท

 

 

สัดส่วนการใช้พลังงานภายในองค์กรต่อรายได้กลุ่มมิตรผล

 

การใช้พลังงานภายในองค์กรต่อรายได้ (MJ/ล้านบาท)

ปี 2562

ปี 2563

ปี 2564

ปี 2565

0.87

0.77

0.89

0.65

 

 

การใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงที่สามารถทดแทนได้

 

การใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงที่สามารถทดแทนได้  (MWh)

ปี 2562

ปี 2563

ปี 2564

ปี 2565

16,676,418.90

12,658,868.46

14,575,864.44

18,456,962.05

 

 

 

สุพรรณบุรี Carbon Neutrality Model

 

ปี 2565 กลุ่มมิตรผลเปิดตัวโครงการ “สุพรรณบุรี Carbon Neutrality Model” ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่อุทยานมิตรผลด่านช้างเพื่อเป็นโรงงานต้นแบบด้านความเป็นกลางทางคาร์บอน ในปี 2566 เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเมืองคาร์บอนต่ำของจังหวัดสุพรรณบุรี อีกทั้งยังเป็นต้นแบบแก่โรงงานในเครือ และองค์กรอื่นๆ ในภาคอุตสาหกรรมที่มีเป้าหมายในการสร้างอนาคตที่ยั่งยืน

 

โครงการ “Suphanburi Carbon Neutrality Model” ตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ อย่างน้อย 270,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ในปี2566 เพื่อบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนของอุทยานฯ การดำเนินงาน 6 ด้าน ได้แก่ การใช้พลังงานทดแทน การตัดอ้อยสด งดเผา การพัฒนาต่อยอดอ้อย และน้ำตาลสู่ธุรกิจผลิตภัณฑ์ชีวภาพ (Bio-Based Product) การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม การปลูกป่า และการชดเชยคาร์บอนเครดิต

 

นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมปลูกป่า ณ ป่าสงวนแห่งชาติ ประกอบด้วย ป่าองค์พระ ป่าพุระกำ และป่าห้วยพลู อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการปลูกป่าที่กลุ่มมิตรผล ร่วมกับจังหวัดสุพรรณบุรีในการปลูกต้นไม้จำนวนกว่า 700,000 ต้น โดยได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ได้แก่ กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม กรมป่าไม้ จังหวัดสุพรรณบุรี มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง เกษตรกรชาวไร่อ้อย พนักงาน และชุมชน

 

 

 

การพัฒนาผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำ

 

  • น้ำตาลคาร์บอนต่ำ

 

กลุ่มมิตรผลเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนคู่ค้าพัฒนาผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำ เพื่อเป็นทางเลือกแก่ลูกค้าประเภท Business to Business (B2B) และ Business to Customer (B2C) ที่มีแนวโน้มความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำมากขึ้น โดยกลุ่มธุรกิจน้ำตาลได้ประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint Product - CFP)  และฉลากลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint Reduction – CFR ) ที่มีค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำกว่าหรือเท่ากับเกณฑ์เปรียบเทียบสมรรถนะ (Benchmark) ของแต่ละกลุ่มผลิตภัณฑ์  หรือค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ลดลงร้อยละ 2 จากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ในปีฐานซึ่งฉลากคาร์บอนดังกล่าวได้รับการรับรองจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) 

ในปี 2565 ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มมิตรผลที่ได้ขึ้นทะเบียนขอรับรองทั้งหมด 36 ผลิตภัณฑ์น้ำตาล จาก 7 โรงงานน้ำตาล
 

                         ผลิตภัณฑ์ฉลากลดคาร์บอน (CFR) ได้รับการรับรองจาก อบก. ประกอบด้วย

 

 

 

  • ปุ๋ยสูตรพิเศษ ควบคุมการปลดปล่อยธาตุอาหาร

 

ปุ๋ย Controlled Release Fertilizers (CRF) สูตร 23-12-16 เป็นปุ๋ยสูตรพิเศษ ที่ยืดเวลาการปลดปล่อยธาตุไนโตรเจน  เมื่อใส่ลงดินปุ๋ยจะค่อยๆ ปลดปล่อยธาตุไนโตรเจนตามความต้องการของพืช ทำให้พืชได้ธาตุอาหารตลอดระยะเวลา 270 วัน (9 เดือน) เทคโนโลยีดังกล่าวช่วยลดการสูญเสียของไนโตรเจน  และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ไนโตรเจนของพืชในสูงขึ้นด้วย 

 

สำหรับการปลูกอ้อย โดยปกติแล้วต้องใส่ปุ๋ย 2 ครั้ง คือ เวลารองพื้นปลูก (ใส่ 16-16-8 จำนวน 50 กก.) และเมื่ออ้อยมีอายุ 3 เดือน (ใส่ 21-7-18 หรือ 20-8-20 จำนวน 50 กก.) เทคโนโลยีใหม่จากประเทศญี่ปุ่นนี้ ทำให้ใส่ปุ๋ย 23-12-16 เพียงแค่ครั้งเดียว (50 กก.)  เทียบเท่ากับใส่ปุ๋ย 2 กระสอบ บำรุงต้นและระบบรากให้สมบูรณ์ ช่วยให้อ้อยลำใหญ่ น้ำหนักดี มีเปอร์เซ็นต์ความหวานสูง ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว เหมาะสำหรับ อ้อยปลูกใหม่ พื้นที่ดินเหนียว และดินทราย ใช้รองพื้นปลูก ปริมาณ 50 กก.ต่อไร่

 

 

  • PlaneX - CaneX  บรรจุภัณฑ์ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

 

กลุ่มมิตรผลมีแนวทางการพัฒนาธุรกิจควบคู่กับการสร้างความยั่งยืน และความสำคัญของการกำกับดูแลสิ่งแวดล้อม ลดปริมาณขยะพลาสติก จึงได้ดำเนินธุรกิจผลิต “เม็ดพลาสติกชีวภาพ” ที่ผลิตจากวัตถุดิบทางการเกษตร หรือวัตถุดิบธรรมชาติ (Biobased) ภายใต้แบรนด์ PlaneX โดยมีคุณสมบัติสลายตัวได้ตามธรรมชาติด้วยการฝังกลบ (Compostable Compound) และบรรจุภัณฑ์รักษ์โลกที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ (Compostable Food Packaging) เช่น ช้อน ส้อม มีด จากแป้งมันสำปะหลัง และหลอดจากชานอ้อย ภายใต้แบรนด์ CaneX ซึ่งเป็นการต่อยอดมูลค่าให้ “อ้อย” พืชเศรษฐกิจสำคัญของไทย

 

 

  • โครงการโซลาร์ฟาร์ม

 

 เพื่อเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนขององค์กร ในปี 2565 กลุ่มมิตรผลมีโครงการโซลาร์ฟาร์ม ดังนี้

  1. โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินขนาด 0.99 MWp บริษัท มิตรผล ไบโอ-เพาเวอร์ (อำนาจเจริญ) จำกัด  กำลังการผลิต (กิโลวัตต์) 990.7 สามารถผลิตพลังงานได้ (ล้านหน่วย/ปี) 1.481
     
  2. โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบทุ่นลอยน้ำขนาด 2.5 MWp (เฟส2) บริษัท มิตรผล ไบโอ-เพาเวอร์ (ด่านช้าง) จำกัด กำลังการผลิต (กิโลวัตต์) 2,497 สามารถผลิตพลังงานได้ (ล้านหน่วย/ปี) 3.7451
     
  3. โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบทุ่นลอยน้ำขนาด 5 MWp (เฟส2) บริษัท มิตรผล ไบโอ-เพาเวอร์ (กุฉินารายณ์) จำกัด กำลังการผลิต (กิโลวัตต์) 4,995 สามารถผลิตพลังงานได้ (ล้านหน่วย/ปี) 7.3043
     
  4. โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบทุ่นลอยน้ำขนาด 3 MWp (เฟส2) บริษัท มิตรผล ไบโอ-เพาเวอร์ (ภูเขียว) จำกัด
    กำลังการผลิต (กิโลวัตต์) 2,992 สามารถผลิตพลังงานได้ (ล้านหน่วย/ปี) 4.2616

 

และอยู่ระหว่างการก่อสร้างโครงการเพิ่มเติมในปี 2566 

  1. โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบทุ่นลอยน้ำขนาด 4.3 MWp บริษัท แม่สอดพลังงานสะอาด จำกัด
    กำลังการผลิต (กิโลวัตต์) 4,292 สามารถผลิตพลังงานได้ (ล้านหน่วย/ปี) 6.6659

 

 

  • ผลิตภัณฑ์วัสดุทดแทนไม้ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

 

ผลิตภัณฑ์วัสดุทดแทนไม้ที่ใช้ไม้ยางพาราที่หมดอายุการให้น้ำยางได้แล้วมาเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตวัสดุทดแทนไม้ คุณภาพสูง และเป็นมิตร
ต่อสิ่งแวดล้อม ดีไซน์ทันสมัย ในปี 2565 มีผลิตภัณฑ์ที่ได้รับ Green Label และ Greenguard ดังนี้

 

ไม้เคลือบเมลามีนพาเนล พลัส ผลิตด้วยนวัตกรรมปิดผิวนําสมัย นําเข้ากระดาษเคลือบเมลามีนจากยุโรปปิดด้วยความร้อนบนไม้ปาร์ติเกิลหรือ
ไม้เอ็มดีเอฟ ทําให้ไม้มีคุณสมบัติทนต่อแรงกระแทก ทนต่อความร้อนมีดีไซน์ที่สวยงามและผิวสัมผัสให้เลือกมากมาย เหมาะกับงานตกแต่งภายในและบิ้วท์อิน ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้รับการรับรองจาก Green Label Singapore

 

แผ่นลามิเนต พาเนล พลัส ถูกคิดค้นมาเพื่อตอบโจทย์การใช้งานตกแต่งภายใน อีกทั้งมีลวดลายสีสัน ที่หลากหลาย มีความแข็งแรงสูง ทนทานต่อรอยขีดข่วน ทนต่อความชื้นและความร้อนได้เป็นอย่างดี ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้รับ GREENGUARD Gold Certified มาตรฐานการรับรองการปล่อยสารเคมีในระดับต่ำ สำหรับวัสดุก่อสร้างอาคาร และ เฟอร์นิเจอร์ ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานการประเมินอาคารเขียว หรือ LEED Certification ด้วย

 

บริษัทพาเนล พลัส จำกัด ได้จัดทำโครงการจัดการสวนยางอย่างยั่งยืนตามหลักการของมาตรฐาน FSC (Forest Stewardship Council™: FSC™)
มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกษตรชาวสวนยางสามารถดูแลและจัดการสวนยางพาราตามหลักความยั่งยืน โดยให้ความสำคัญทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม สำหรับในปี 2565 มีจำนวนเกษตรกรสมาชิกเข้าร่วมโครงการ FSC จำนวน 3,332 ราย และครอบคลุมพื้นที่ 65,692 ไร่
 และผลิตภัณฑ์ไม้ปาร์ติเกิล, ไม้เอ็มดีเอฟ, ไม้เคลือบเมลามีน, กระดาษเคลือบเมลามีน และน้ำยาง ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานดังกล่าว

 

 

  • มิตรผล ลงทุนใน Meat Avatar รุกตลาด Plant-based Food

 

กลุ่มมิตรผล ในฐานะผู้นำการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารระดับโลก มาตลอดระยะเวลากว่า 65 ปี ทั้งนำเอาการวิจัย นวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาต่อยอดการใช้ทรัพยากรชีวภาพให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อมุ่งสู่ New S-curve เช่น Future Food ร่วมลงทุนกับ
บริษัท มีท อวตาร จำกัด สร้างนวัตกรรม
อาหารแห่งอนาคต แบรนด์ Meat Avatar ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์จำแลงจากพืช (Plant-based Meat) สนับสนุนการบริโภคทางเลือกใหม่ที่ใส่ใจทั้งสุขภาพและสิ่งแวดล้อม โดย
กลุ่มมิตรผลมีการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนแบรนด์ Meat Avatar ในเชิงธุรกิจ ด้วยการเสริมความแข็งแกร่งใน 3 ด้าน ได้แก่

1) การเสริมทัพด้านการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) เพื่อส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมอาหารที่ใส่ใจสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
    ในอนาคต

2) การเสริมศักยภาพด้านกระบวนการผลิต เพื่อเตรียมรองรับการขยายฐานการเติบโตในอนาคต

3) การเชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจ เพื่อขยายฐานลูกค้า ในฐานะที่กลุ่มมิตรผลอยู่ในอุตสาหกรรมอาหารมายาวนาน มีฐานการผลิตในหลายประเทศ
    จึงสามารถช่วยสร้างโอกาสการขยายธุรกิจในต่างประเทศและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในระดับสากล

 
 
 

การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

 

  • เอทานอลเพื่อความยั่งยืน

 

กลุ่มมิตรผลได้รับการรับรองเป็นผู้ผลิตเอทานอลเพื่อความยั่งยืนรายแรกของไทย ตามมาตรฐานความยั่งยืนระดับโลก Bonsucro EU-RED
สร้างโอกาสใหม่ให้อุตสาหรกรรมไบโอเบส พร้อมกระบวนการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

 

มุ่งสู่การพัฒนาเชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน (SAF : Sustainable Aviation Fuel)

คลิกเพื่ออ่านข้อมูลเพิ่มเติม