การบริหารจัดการคุณภาพอากาศ
ผู้มีส่วนได้เสียหลัก : ภาครัฐและองค์กรภาคประชาสังคม / คู่ค้า / ชุมชน / พนักงาน
การบริหารจัดการคุณภาพอากาศเป็นประเด็นสำคัญที่หลายภาคส่วนให้ความสำคัญ เนื่องจากมลสารทางอากาศก่อให้เกิดปัญหาคุณภาพอากาศที่ต่ำกว่ามาตรฐาน ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และการใช้ชีวิตประจำวันของพนักงาน คนในชุมชน และจะส่งผลกระทบเป็นวงกว้างทั้งต่อเศรษฐกิจ โดยมีสาเหตุหลักมาจากการดำเนินกิจกรรมของมนุษย์ แม้ว่าในหลายประเทศได้มีการยกระดับของกฎหมายและมาตรการให้มีความเข้มข้น แต่ต้องอาศัยระยะเวลาและความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเพื่อการบริหารจัดการคุณภาพอากาศอย่างมีประสิทธิภาพแบบองค์รวม
บริษัทจึงให้ความสำคัญและควบคุมคุณภาพอากาศในทุกกระบวนการดำเนินงานให้ได้มาตรฐานและปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ธุรกิจเติบโตไปพร้อมกับคุณภาพชีวิตที่ดีของชุมชนและสังคม
แนวทางการบริหารจัดการ
ให้ความสำคัญในการบริหารจัดการคุณภาพอากาศ จากกระบวนการผลิตที่อาจก่อให้เกิดมลสารทางอากาศ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อพนักงานและชุมชนโดยรอบ บริษัทจึงได้จัดทำกลยุทธ์ แผนบริหารจัดการควบคุมคุณภาพอากาศ และแนวทางพัฒนาระบบควบคุมคุณภาพอากาศทั้งภายในและบริเวณโดยรอบโรงงาน ตลอดทั้งมีการตรวจวัดติดตามคุณภาพอากาศอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มั่นใจว่าคุณภาพอากาศเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งมีการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ ดูแลป้องกันมลสารทางอากาศผ่านการจัดการคุณภาพอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ
การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ
1. โครงการการประเมินผลกระทบด้านมลภาวะทางด้านอากาศด้วยการใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ AERMOD ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4
บริษัท พาเนล พลัส จำกัด ในกลุ่มมิตรผลได้นำแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ AERMOD ประเมินการแพร่กระจายมลสารทางอากาศ โดยใช้ข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยา และผลตรวจวัดคุณภาพอากาศที่ระบายออกจากปล่องมาวิเคราะห์ และประยุกต์ใช้ จึงเกิดการพัฒนาลงทุนระบบบำบัดอากาศแบบ Wet Electrostatic Precipitator (WESP) ที่บริษัท พาเนล พลัส จำกัด จ.สงขลา สามารถดึงฝุ่นกลับเข้าสู่ระบบ ลดผลกระทบทางตรงได้ และยังส่งผลทางอ้อมโดยการได้วัตถุดิบกลับเข้าสู่กระบวนการผลิตอีกทางหนึ่ง
นอกจากนี้บริษัทยังดำเนินการอย่างต่อเนื่องในการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างองค์ความรู้ให้กับผู้บริหารและพนักงานทุกระดับที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การสร้างความตระหนัก ปัจจัยการแพร่กระจายมลพิษ และการควบคุมมลพิษ โดยนำข้อมูลจากแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ AERMOD มาเป็นส่วนหนึ่งในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment Report; EIA Report) จนนำมาสู่การวิเคราะห์และกำหนดมาตรการควบคุมและป้องกันมลพิษทั้งในและนอกเหนือที่ EIA กำหนด โดยมีการติดตามการปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าวภายในกลุ่มมิตรผล
2. การป้องกันมลสารทางอากาศ
กลุ่มมิตรผลได้ดำเนินงาน เพื่อป้องกันมลสารทางอากาศ โดยแบ่งการป้องกันออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ การป้องกันมลสารทางอากาศที่แหล่งกำเนิด การป้องกันมลสารทางอากาศที่ทางผ่าน การป้องกันมลสารทางอากาศที่ชุมชน
การป้องกันมลสารทางอากาศที่แหล่งกำเนิด
การป้องกันมลสารทางอากาศที่ทางผ่าน
ควบคุมฝุ่นจากสายพานลำเลียงวัตถุดิบชานอ้อยเข้าโรงงานผลิตไฟฟ้าชีวมวล โดยการตรวจสอบจุดรั่วของฝุ่นในสายพานอย่างสม่ำเสมอ ทำการติดตั้งที่ครอบสะพานลำเลียงชานอ้อย และทำการเคลื่อนย้ายชานอ้อยโดยสายพานลำเลียงแบบเคลื่อนที่ (Mobile Belt) ซึ่งภายในสายพานลำเลียงยังมีอุปกรณ์เกลี่ยชานอ้อยให้อยู่บนสายพาน, สเปรย์น้ำและอุปกรณ์ป้องกันการฟุ้งกระจายของชานอ้อยซึ่งปรับระดับความสูงได้
การป้องกันมลสารทางอากาศที่ชุมชน
การควบคุมฝุ่นจากบริเวณจัดเก็บชานอ้อย เช่น การคลุมกองชานอ้อย การสเปรย์น้ำเพื่อป้องกันการฟุ้งกระจายของชานอ้อย และแนวตาข่ายและกำแพงต้นไม้รอบกองชานอ้อย |