การสูญเสียอาหารและขยะอาหาร

 

 

ผู้มีส่วนได้เสียหลัก : ผู้ถือหุ้น / พนักงาน / คู่ค้า / ลูกค้าและผู้บริโภค / ชาวไร่ 

 

มิตรผลเป็นผู้ผลิตอาหารชั้นนำของโลกที่ให้ความสำคัญกับการการพัฒนาอย่างยั่งยืน และให้ความใส่ใจในประเด็นที่ผู้มีส่วนได้เสีย โดยเฉพาะประเด็นเรื่องการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร ซึ่งบริษัทตระหนักว่าเป็นการลดทอนโอกาสในการเข้าถึงแหล่งอาหารของกลุ่มเปราะบาง อีกทั้งเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกอันจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและเป็นสาเหตุที่สำคัญของภาวะโลกรวน (Climate Change) 

 

แนวทางในการลดการสูญเสียตลอดห่วงโซ่การผลิตเริ่มตั้งแต่การส่งเสริมชาวไร่ในการปลูกอ้อยให้มีความรู้ในการลดการสูญเสียจากการเก็บเกี่ยว และขนส่งเข้าโรงงาน การลดการสูญเสียในกระบวนการผลิตในขั้นตอนต่างๆ ให้น้อยที่สุด โดยมีการนำหลักการ Total Productive Management (TPM) มาใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง 

 

 

 

แนวทางการบริหารจัดการ

 

ในปี 2565 ที่ผ่านมากลุ่มมิตรผลได้มีการกำหนดให้แต่ละโรงงงานตั้งเป้าหมายเพื่อเป็นตัวชี้วัดการควบคุมการผลิต และและลดการสูญเสียต่างๆ ในการผลิตตลอดทั้งปี โดยมีเป้าหมาย “เป็นโรงงานน้ำตาลที่มีประสิทธิภาพการผลิตสูงในระดับโลก”  รวมถึงมีการติดตามผลการดำเนินงาน แบบทันทีทันใด (real time) ผ่านการรายงานผลบนแดชบอร์ด (dashboard) 

 

เรามุ่งมั่นที่จะสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนของสหประชาชาติ เรื่องการสูญเสียอาหาร และขยะอาหาร โดยมีรายละเอียดดังนี้

 

1. ส่งเสริมการลดการสูญเสียอาหาร และขยะอาหารในห่วงโซ่คุณค่า

2. ลดปริมาณการสูญเสียอาหารในกิจกรรมการดำเนินการของบริษัท 

             โดยตั้งเป้าหมาย 3 ปี เป็น เพิ่ม Overall Average Recovery = 84.11% ภายในปี 2567 

 

              หมายเหตุ:    Overall Recovery คือ ประสิทธิภาพการผลิตของน้ำตาลโดยรวม ซึ่งหาได้จาก 

                                %Overall Recovery = 100 - Total Loss
                                Total Loss = Sugar loss in bagasse, filter cake, final molasses และ undetermined loss
 
 

 

คลิกเพื่อดูนโยบายด้านการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร

 

 

 

การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ

 

บริษัทมีการวัดปริมาณการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร และจัดทำฐานข้อมูลการสูญเสียอาหารในรูปของน้ำตาลให้สอดคล้องกับข้อกำหนดสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย โดยวัดปริมาณการสูญเสียน้ำตาลทรายที่ไปกับชานอ้อย กากหม้อกรอง โมลาส และความสูญเสียโดยไม่ทราบสาเหตุ เช่น การรั่วไหล การสูญเสียซูโครสด้วยจุลินทรีย์และความร้อน การสูญเสียไปกับน้ำเสีย เป็นต้น โดยบริษัทมีการวัดการสูญเสียอาหารและขยะอาหารตลอดกระบวนการ ดังนี้  

 

 
     คลิกเพื่อดูการสูญเสียในกระบวนการผลิตน้ำตาลทรายดิบ และการสูญเสียที่เกิดในกระบวนการผลิตน้ำตาลรีไฟน์

 

 

นอกจากนั้นแล้ว ในปี 2565 มีโครงการที่ได้ดำเนินงานดังต่อไปนี้  

 

  • โครงการลดการสูญเสียน้ำตาลไปกับชานอ้อยดำเนินการตามโครงการ Mill Setting Standard and Real Time Monitoring โดยแต่ละโรงงานปรับรอบการหีบอ้อยให้ได้ Mill Setting เป็นไปตามมาตรฐานของกลุ่มมิตรผล และมีการติดตามการผลิตแบบ Real time และ พบว่า %Loss Bagasse ลดลงจาก 3.21 เป็น 3.12% 

 

  • ลดการสูญเสียน้ำตาลไปกับกากหม้อกรอง เช่น ซ่อมแซมระบบสูญญากาศของหม้อกรอง และปรับปรุงโปรแกรมระบบการฉีดล้าง Filter Press Cake และซ่อมแซมปั๊มลม 

 

  • ลดการสูญเสียน้ำตาลในโมลาสจากกระบวนการเคี่ยวและปั่น เช่น ปรับปรุงระบบโมลาสผสม ใบพายปาดน้ำตาลหม้อปั่น กระบวนการเคี่ยว ระบบคอนโทรลน้ำล้างเม็ดน้ำตาล ระบบการบรรจุน้ำตาล Oversize/Undersize การบริหารจัดการน้ำตาลทรายดิบโดยการผสมในโกดังก่อนนำเข้าละลาย และจัดให้มีตัวอย่างน้ำตาลค่าสีตามมาตรฐานไว้เปรียบเทียบหน้างาน 

 

  • การลดการสูญเสียน้ำตาลโดยไม่ทราบสาเหตุ เช่น ปรับปรุงระบบน้ำพรมลูกหีบ การบริหารจัดการเครื่องจักร ประสิทธิภาพตะแกรงกรองน้ำเชื่อม ระบบทำความสะอาดของสายพานลำเลียงน้ำตา การสอบเทียบ Mass Flow Meter ทำการตรวจเช็คการหกล้นรั่วไหล และทำการแก้ไขทันทีเมื่อพบเห็น 

 

  • ลดการใช้วัตถุดิบสารเคมี และภาชนะบรรจุในกระบวนการผลิตโดยควบคุมปริมาณการใช้ที่เหมาะสม พัฒนาบรรจุภัณฑ์ตามแนวทาง BCG Economy ได้แก่ บรรจุภัณฑ์สำหรับน้ำตาลอ้อยธรรมชาติที่ใช้วัสดุธรรมชาติ โดยด้านนอกของบรรจุภัณฑ์ทำจากกระดาษคราฟต์ ด้านในป้องกันความชื้นด้วยพลาสติกชีวภาพชนิดพิเศษที่ผลิตจากพืชสามารถย่อยสลายได้ และลดความความหนาของภาชนะบรรจุน้ำตาล 

 

  • ลดการสูญเสียน้ำตาลในกระบวนการบรรจุ เช่น ปรับพิกัดการชั่งให้เหมาะสมกับน้ำหนักภาชนะบรรจุแต่ละ lot และใช้วิธีการตักเติมกรณีที่น้ำตาลขาด 

 

  • การลดการสูญเสียน้ำตาลไปกับน้ำเสีย เช่น เปลี่ยนท่อต่างๆ ที่ชำรุดรั่วไหลและติดตั้งถาดรองบริเวณปั๊มให้ครบทุกตัว เพื่อสังเกตปั๊มที่รั่วไหลและดำเนินการซ่อมหรือเปลี่ยนให้ใช้งานได้ปกติ 

 

กลุ่มมิตรผลให้ความสำคัญกับการลดการสูญเสียตลอดห่วงโซ่การผลิต ทำให้สร้างโอกาสในการลดปริมาณการสูญเสียอาหารและขยะอาหารทั้งหมดต่อปริมาณน้ำตาลที่ขาย โดยมีผลดังนี้ 

 

 

การสูญเสียอาหารและขยะอาหาร

 

 

หน่วย

 

 

2562

 

 

2563

 

 

2564

 

 

2565

 

 

  เป้าหมาย ปี 2565  

 

  ปริมาณการสูญเสียอาหารและขยะอาหารทั้งหมด

ต่อปริมาณน้ำตาลที่ขาย  

  ตัน/ ตันน้ำตาลที่ขาย     0.247     0.263     0.222      0.196   0.189