เกี่ยวกับรายงานฉบับนี้2-3, 2-4, 2-5,3-1,3-2,3-3

 

กลุ่มมิตรผลได้จัดทำรายงานความยั่งยืน เพื่อเปิดเผยผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนใน 3 มิติ ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ให้ผู้มีส่วนได้เสียได้รับรู้เป็นประจำทุกปี โดยได้เริ่มเปิดเผยผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืน มาตั้งแต่ปี 2556 ด้วยการใช้กรอบการรายงานของ Global Reporting Initiative Standards (GRI Standard) ในการเปิดเผยผลการดำเนินงาน โดยมีระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 ถึง 31 ธันวาคม  2565

 

ทั้งนี้รายงานฉบับนี้ ได้มีการปรับรอบระยะการรายงาน เนื่องมาจากบริษัทได้มีนโยบายการปรับเปลี่ยนรอบของการดำเนินงานขององค์กร จากเดิมเป็น 1 พฤศจิกายน ถึง 31 ตุลาคม ในปีถัดไป ซึ่งการปรับรอบเวลาดังกล่าวไม่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงผลการดำเนินงานอย่างมีนัยสำคัญ

 

ขอบเขตการรายงาน(2-3)

 

รายงานฉบับนี้ได้นำเสนอผลการดำเนินงาน ครอบคลุมการดำเนินงานของกลุ่มมิตรผลและบริษัทย่อยภายในประเทศไทยเท่านั้น ซึ่งแบ่งการนำเสนอข้อมูลออกเป็น 7 กลุ่มธุรกิจ ซึ่งประกอบด้วย ธุรกิจไร่บริษัท 2 บริษัท, ธุรกิจน้ำตาล 11 บริษัท, ธุรกิจพลังงาน 49 บริษัท, ธุรกิจวัสดุทดแทนไม้ 8 บริษัท, ธุรกิจปุ๋ย 4 บริษัท, ธุรกิจขนส่งและคลังสินค้า 7 บริษัท และธุรกิจอื่นๆ 11 บริษัท โดยขอบเขตการรายงานฉบับนี้  ครอบคลุมผลการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ทั้ง 100% ของรายได้ทั้งหมดของกลุ่มมิตรผล   

 

รายชื่อบริษัทที่อยู่ในขอบเขตของรายงาน(102-46)    



หลักการเลือกประเด็นสำคัญและขอบเขต

 

กลุ่มมิตรผลได้จัดทำรายงานความยั่งยืนประจำปี 2565  ขึ้น เพื่อเปิดเผยผลการดำเนินงานใน 3 มิติ คือ มิติเศรษฐกิจ มิติสังคม และมิติสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้ดำเนินการทบทวนและจัดทำประเด็นสำคัญขึ้นใหม่ที่สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจ โดยเริ่มจากการพิจารณาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญและประเด็นความยั่งยืนที่ส่งผลต่อกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ไฟฟ้า และวัสดุทดแทนไม้จากทั่วโลก แผนกลยุทธ์ของกลุ่มมิตรผล รวมทั้งสำรวจความคาดหวังจากกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย และนำมาวิเคราะห์ ประเมิน กำหนดประเด็น และจัดลำดับความสำคัญประเด็นการพัฒนาที่ยั่งยืนของบริษัท โดยประเด็นสำคัญที่ได้จากการประเมินนั้น จะนำไปพิจารณาผนวกเข้ากับกระบวนการบริหารความเสี่ยงขององค์กร เพื่อให้มีการบริหารจัดการความเสี่ยงที่ดีและครอบคลุมทั่วทั้งองค์กรได้มากขึ้น ซึ่งการจัดทำประเด็นที่มีนัยสำคัยนั้น จะมีการจัดทำและทบทวนเป็นประจำทุกปี

 

กระบวนการคัดเลือกประเด็นสำคัญและขอบเขตผลกระทบนั้น มี 4 ขั้นตอน ดังนี้

 

ขั้นตอนที่ 1 การระบุ (Identification)

ฝ่ายพัฒนาเพื่อความยั่งยืนได้รวบรวมประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญและครอบคลุมตลอดห่วงโซ่คุณค่า ในปี 2564 มาพิจารณาทบทวน โดยคำนึงถึงผลกระทบและโอกาสการเกิดที่เกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้เสียตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่า ทั้งมิติเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม รวมถึงสิทธิมนุษยชน การวิเคราะห์ข้อมูลแนวโน้มสถานการณ์ของโลก (Global Trend) ประเด็นความยั่งยืนที่เกี่ยวข้องกับการประเมินความยั่งยืนขององค์กรระดับสากล ความสอดคล้องของประเด็นสาระสำคัญของกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ไฟฟ้า และวัสดุทดแทนไม้จากบริษัททั่วโลก การวิเคราะห์ผลการสำรวจความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียในประเด็นการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งในและนอกองค์กร และความสอดคล้องกับ GRI Standard : Agriculture Aquaculture and Fishing Sectors 2022

 

ขั้นตอนที่ 2 การจัดลำดับความสำคัญ (Prioritization) 

ประเด็นความยั่งยืนที่ได้รับการคัดเลือกในขั้นตอนที่ 1 ถูกนำมาจัดลำดับความสำคัญโดยพิจารณาจากการทดสอบสารัตถภาพ (Materiality Test) ที่ผ่านการคัดกรองใน 2 มุมมอง คือ ระดับผลกระทบและโอกาสการเกิดผลกระทบที่มีต่อผู้มีส่วนได้เสีย โดยมีการทบทวนร่วมกับผู้บริหารระดับสูง นอกจากนั้นแล้ว ในปีนี้กลุ่มมิตรผลยังได้มีการนำการประเมินประเด็นที่มีนัยสำคัญแบบ Double Materiality เข้ามาร่วมใช้ในการประเมินประเด็นที่มีนัยสำคัญตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่าของมิตรผล เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากองค์กรที่มีต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และผลกระทบภายนอกที่มีต่อองค์กร เพื่อให้มีครอบคลุมรอบด้านมากยิ่งขึ้น ทำให้สามารถบริหารจัดการข้อกังวลของผู้มีส่วนได้เสียได้อย่างรอบคอบ ทันเวลา สร้างประโยชน์ และมูลค่าเพิ่มให้กับผู้มีส่วนได้เสียได้ในระยะยาวอีกด้วย

 

ผลการประเมินประเด็นที่มีนัยสำคัญ (3-3)

 
 

ขั้นตอนที่ 3 การกำหนดขอบเขตการรายงานประเด็นที่มีนัยสำคัญ

กลุ่มมิตรผลกำหนดขอบเขต และพิจารณาตรวจสอบประการรายงานประเด็นสำคัญทั้ง 18 ประเด็น โดยเก็บข้อมูลจากหน่วยงาน และกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียที่มีความเกี่ยวข้องกับประเด็นสำคัญดังกล่าว

 

ขอบเขตการรายงานประเด็นที่มีนัยสำคัญ

 

ขั้นตอนที่ 4 การทวนสอบ

ประเด็นที่มีนัยสำคัญของกลุ่มมิตรผล จะทำการทวนสอบอย่างครบถ้วนโดยฝ่ายพัฒนาเพื่อความยั่งยืน นำเสนอต่อคณะกรรมการเพื่อความยั่งยืนของกลุ่มมิตรผล เพื่ออนุมัติประเด็นสำคัญ และได้ดำเนินการทวนสอบโดยผู้ทวนสอบภายนอกเป็นประจำทุกปี

 

ติดต่อสอบถามข้อมูล(2-3)

ฝ่ายพัฒนาเพื่อความยั่งยืน ด้านบริหารองค์กรเพื่อความยั่งยืน  

กลุ่มมิตรผล เลขที่ 2 อาคารเพลินจิตเซ็นเตอร์ ชั้น 3

ซอยสุขุมวิท 2  ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110  

โทร. +662 2794 1651

อีเมล์ sustainability@mitrphol.com