คำแสดงเจตจำนงด้านการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity)

                                         

 

    กลุ่มมิตรผล ให้ความสําคัญกับการดําเนินธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และสังคมอย่างยั่งยืน และตระหนักดีว่าการดําเนินธุรกิจ อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศ และความหลากหลายทางชีวภาพ ดังนั้นการจัดการด้านความหลากหลายทางชีวภาพ  จึงเป็นประเด็นที่กลุ่มมิตรผล ให้ความสําคัญทั้งด้านระบบนิเวศอันเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตนานาชนิด นานาพันธุ์ และการบูรณาการคุณค่าทั้งการดํารงรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ โดยกำหนดไว้เป็นส่วนหนึ่งตามข้อที่ 3 ของนโยบายความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม ตามประกาศ กลุ่มมิตรผล ที่ สนญ. 55/2562 อีกทั้งสนับสนุนการตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ (United Nations Sustainable Development Goals) ข้อที่ 15.2 ด้วยการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่า

 

    ความหลากหลายทางชีวภาพ ตามนิยามโดยองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (International Union of Conservation or Nature and Natural Resources: IUCN) หมายถึง การมีสิ่งมีชีวิตที่มีความแตกต่างและหลากหลาย ในแหล่งที่อยู่อาศัย ทั้งบนพื้นโลก ในทะเล และในระบบนิเวศต่างๆ ซึ่งความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตนี้ รวมไปถึงความหลากหลายระหว่างชนิดพันธุ์ ระหว่างสายพันธุ์ และระหว่างระบบนิเวศ

 

 

กรอบการปฏิบัติงานด้านการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ

 

    กลุ่มมิตรผลมีความมุ่งมั่นที่จะปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ มีจุดมุ่งหมายเพื่อลดผลกระทบต่อ

สิ่งแวดล้อม โดย

 
  • ออกแบบ และบริหารการจัดการพื้นที่ปฏิบัติการ/โรงงาน เพื่อหลีกเลี่ยงและลดผลกระทบด้านลบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ
 
  • ดำเนินงานกระบวนการต่างๆ อย่างมีความรับผิดชอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่มีความอ่อนไหวด้านความหลากหลายทางชีวภาพ
 
  • ปกป้อง ป้องกัน และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยใช้ทรัพยากรอย่างพอเพียงและยั่งยืน และคงไว้ซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศให้สอดคล้องตามหลักมาตรฐานสากล
 

 

ความมุ่งมั่นด้านความหลากหลายทางชีวภาพ

 

     ความมุ่งมั่นด้านความหลากหลายทางชีวภาพนี้ ครอบคลุมถึงการดำเนินธุรกิจของบริษัท ผู้มีส่วนได้เสียที่สําคัญ ซึ่งรวมถึงการดําเนินงานของคู่ค้าที่ทําธุรกิจโดยตรง (Tier-1 Suppliers) คู่ค้าที่ไม่ได้ทําธุรกิจโดยตรง (Non-tier 1 Suppliers) และหุ้นส่วนทางธุรกิจ

 
  • บูรณาการการประเมินและการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ ผ่านการบังคับใช้นโยบายความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมกลุ่มมิตรผล
 
  • มุ่งมั่นที่จะไม่ก่อให้เกิดความสูญเสียคุณค่าด้านความหลากหลายทางชีวภาพสุทธิ  
        (No Net Loss: NNL) และส่งเสริมการดําเนินโครงการใหม่ทั้งหมด เพื่อส่งมอบผลกระทบ
        ด้านความหลากหลายทางชีวภาพสุทธิเชิงบวก (Net Positive Impact: NPI) ในกรณีที่
        สามารถดําเนินการได้
 
  • มุ่งมั่นในการดําเนินธุรกิจโดยปราศจากผลกระทบต่อพื้นที่ป่าไม้สุทธิ (No Net Deforestation)   โดยจะดําเนินการฟื้นฟูหรือปลูกป่าไม้ เพื่อชดเชยการสูญเสียป่าไม้จากการดําเนินการในปัจจุบันหรือการดําเนินธุรกิจในอนาคต
 

 

 

กระบวนการและกลไกการขับเคลื่อนด้านการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ

 

    การปกป้องและจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ จะดำเนินการดังต่อไปนี้ 

 
  • จัดการความหลากหลายทางชีวภาพ ในพื้นที่ที่อ่อนไหวด้านความหลากหลายทางชีวภาพ หรือพื้นที่ใกล้เคียงโดยดำเนินงาน ให้เป็นไปตามกฎหมายของประเทศและมาตรฐานสากลที่ยึดถือปฏิบัติ 
        โดยหลีกเลี่ยงการดำเนินการในพื้นที่คุ้มครองตามประกาศของ IUCN Category I-IV
        พื้นที่มรดกโลกตามประกาศของ UNESCO World Heritage และพื้นที่คุ้มครองตาม
        กฎหมายท้องถิ่น
 
  • ปฏิบัติตามแผนบริหารจัดการความหลากหลายชีวภาพ (Biodiversity Management Plan) ที่กำหนด เพื่อหลีกเลี่ยงและลดการสูญเสียต่อความหลากหลายทางชีวภาพ
 
  • แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะไม่ก่อให้เกิดความสูญเสียต่อความหลากหลายทางชีวภาพ 
         (No-Net-Loss) ภายใต้ขอบเขตที่สามารถจัดการได้
 

 

 

แนวทางการปฏิบัติงานด้านการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ

 
  • ประเมินความเสี่ยงและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกิจกรรม การดำเนินงาน ครอบคลุมพื้นที่การดำเนินการและกิจกรรมทางธุรกิจของกลุ่มมิตรผลที่มีต่อความหลากหลายทางชีวภาพ 
 
  • จัดทำแผนป้องกัน หลีกเลี่ยงและลดผลกระทบที่มีความเหมาะสม ในพื้นที่ที่อ่อนไหวด้านความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงพื้นที่ข้างเคียง โดยประยุกต์ใช้แนวทาง "การบรรเทาผลกระทบตามลำดับชั้น" ตั้งแต่การหลีกเลี่ยง (Avoid) ที่จะก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรง การลดผลกระทบ  (Minimize) โดยปรับปรุงการดําเนินการให้ดีขึ้น ฟื้นฟู (Restore) และเฝ้าระวังรักษาระบบนิเวศที่ได้รับผลกระทบ   และการชดเชย (Offset)  ความสูญเสียที่เกิดขึ้น  พร้อมดำเนินการติดตามและเปิดเผยผลการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
 
  • ให้มีการประเมิน บริหารจัดการ และติดตามตรวจสอบคุณค่าทางความหลากหลายทางชีวภาพ เข้าไปในกระบวนการประเมิน (Due Diligence) ก่อนการควบรวมกิจการ การศึกษาและจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และกระบวนการบริหารความเสี่ยงขององค์กร
 
  • เสริมสร้างการมีส่วนร่วม สื่อสารกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพต่อชุมชน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญ พนักงาน และสาธารณชน รวมถึงสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายไม่ให้ก่อผลกระทบกับความหลากหลายชีวภาพ และให้เกิดการฟื้นฟูระบบนิเวศอย่างยั่งยืน

 

 

การวัดประสิทธิผลการดำเนินงาน

 

    ดำเนินการการวัดประสิทธิผลการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity Management) และระบบนิเวศ (Ecosystem Service) ดังนี้

 
  • ประเมินและติดตามสถานะของความเสี่ยงจากกิจกรรม การดำเนินงานของกลุ่มมิตรผลที่มี
         ต่อความหลากหลายทางชีวภาพ
 
  • ติดตามตรวจสอบคุณค่าความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสม่ำเสมอ
 
  • ตรวจประเมินกระบวนการและผลการดำเนินงาน ตามแนวปฏิบัติที่กำหนด 
 

    กลุ่มมิตรผล มีความมุ่งมั่นในการดําเนินการตามคําแสดงเจตจํานงด้านการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพนี้