การมีส่วนร่วมต่อผู้มีส่วนได้เสีย

 

     

   

กลุ่มมิตรผลให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียด้วยการสื่อสารเป็นประจำอย่างต่อเนื่องผ่านกระบวนการสื่อสารและช่องทางต่างๆ อย่างเหมาะสม เพื่อสร้างความเข้าใจถึงประเด็นต่างๆ ที่ผู้มีส่วนได้เสียให้ความสำคัญหรือสนใจ พร้อมรับข้อคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนมาบูรณาการเข้ากับกระบวนการตัดสินใจ และวางแผนการดำเนินธุรกิจของบริษัท ซึ่งจะส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายให้องค์กรเติบโตได้อย่างยั่งยืน 

กลุ่มมิตรผลได้ทำการวิเคราะห์ทบทวน ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในกระบวนการ ตลอดห่วงโซ่คุณค่าเพื่อระบุกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย หลังจากนั้นฝ่ายบริหารจะพิจารณาคัดเลือกผู้มีส่วนได้เสียที่สำคัญกับกลุ่มมิตรผล  โดยในปัจจุบันกำหนดผู้มีส่วนได้เสีย เป็น 7 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ถือหุ้น เกษตรกร ชุมชน คู่ค้า ลูกค้าและผู้บริโภค พนักงาน และภาครัฐและองค์กรภาคประชาสังคม(102-42)  ซึ่งเรามีกระบวนการในการมีส่วนร่วมต่อผู้มีส่วนได้เสียในแต่ละกลุ่มที่แตกต่างกันตามความเหมาะสม 

 

คลิกเพื่อดูรายละเอียดการมีส่วนร่วมต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

 

 
 

 

การสนับสนุนการดำเนินงานและการเข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์กรต่างๆ(2-28)

หนึ่งในการขับเคลื่อนองค์กรเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่สำคัญของกลุ่มมิตรผล คือ การเข้าร่วมการเป็นเครือข่าย และสนับสนุนการดำเนินงานต่างๆ เพื่อให้เกิดความร่วมมือและการขับเคลื่อนในระดับประเทศและสากล ทั้งในประเด็นที่มีความเร่งด่วนในการจัดการ เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือประเด็นที่มีความเกี่ยวข้องในกลยุทธ์ ความสอดคล้องกับธุรกิจ หรือประโยชน์ต่อประเทศและภาพรวม

 

คลิกเพื่อดูรายละเอียดการสนับสนุน และการเข้าร่วมเป็นสมาชิกในองค์กรต่างๆ ที่สำคัญ

 

นอกจากนี้ กลุ่มมิตรผลเข้าร่วมเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งและเป็นสมาชิกสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กประเทศไทย (Global Compact Network Thailand-GCNT) ซึ่งได้มีการเปิดตัวในประเทศไทยเมื่อปี 2561 ซึ่งมีความสำคัญในระดับโลกขององค์การสหประชาชาติ ที่รณรงค์ให้บริษัททั่วโลกได้วางกลยุทธ์ และยึดหลักการทำงานที่สร้างเศรษฐกิจยั่งยืนตามหลักสากล 10 ประการ ครอบคลุมการดำเนินงานใน 4 ด้าน ได้แก่ สิทธิมนุษยชน มาตรฐานแรงงาน สิ่งแวดล้อม และการต่อต้านการคอร์รัปชัน อันจะช่วยให้การดำเนินงานเดินหน้าบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ ไปสู่ระดับประเทศได้ดียิ่งขึ้น (2-28)  

 

กลุ่มมิตรผลได้ร่วมปฏิบัติตามข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (United Nations Global Compact : UNGC) มุ่งสร้างความยั่งยืนการดำเนินธุรกิจ  

ขอบเขตและหลักการของ UNGC 

สิ่งที่ดำเนินการ 

ขอบเขต: 

ใช้หลัก 10 ประการในการดำเนินงานขององค์กร 

 

 

 

1.สนับสนุนและเคารพในเรื่องการปกป้องสิทธิมนุษยชนที่ 

  ประกาศในระดับสากล ตามขอบเขตอำนาจที่เอื้ออำนวย 

2. หมั่นตรวจตราดูแลมิให้ธุรกิจของตนเข้าไปมีส่วน 

   เกี่ยวข้องกับการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน 

 

 

  • นโยบายด้านสิทธิมนุษยชน 

 

  • กระบวนการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน และมีมาตรการควบคุม 

 

3.ส่งเสริมสนับสนุนเสรีภาพในการรวมกลุ่มของแรงงาน 

  และการรับรองสิทธิในการร่วมเจรจาต่อรอง 

4. ขจัดทุกรูปแบบของการบังคับและการใช้แรงงานภาคบังคับ 

5. ยกเลิกการใช้แรงงานเด็กอย่างจริงจัง  

6. ขจัดการเลือกปฏิบัติในเรื่องการจ้างแรงงานและการประกอบอาชีพ 

 

 

  • การบริหารจัดการพนักงาน 

 

  • การดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชน 
  • การต่อต้านการใช้แรงงานเด็ก 
  • นโยบายด้านสิทธิมนุษยชน 

 

7. สนับสนุนแนวทางการป้องกันการดำเนินงานที่อาจจะ 

   ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 

8. ดำเนินการที่จัดการส่งเสริมและยกระดับ 

   ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม 

9. ส่งเสริมการพัฒนาและการเผยแพร่เทคโนโลยีที่เป็น 

   มิตรต่อสิ่งแวดล้อม 

 

 

  • นโยบายความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม 
  • การบริหารจัดการน้ำ 
  • การบริหารจัดการวัสดุที่ไม่ใช้แล้วอย่างมีประสิทธิภาพ 
  • การบริหารจัดการพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 
  • การบริหารจัดการคุณภาพอากาศ 
  • นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล

 

10.ดำเนินงานในทางต่อต้านการทุจริต รวมทั้งการกรรโชก  

   และการให้สินบนในทุกรูปแบบ 

 

 

  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี และนโยบายต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชัน 

 

กลุ่มมิตรผล และองค์กรธุรกิจชั้นนำของไทย เข้าร่วมงานประชุมสุดยอดผู้นำความยั่งยืนประจำปี GCNT Forum  : Thailand’s Climate Leadership Summit 2022 ภายใต้แนวคิด A New Era of Accelerated Actions เพื่อสานต่อและร่วมขับเคลื่อนการดำเนินงานเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและส่งเสริมการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals – SDGs) ขององค์กรสมาชิก