นโยบายด้านการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร
หลักการ
บริษัท น้ำตาลมิตรผล เป็นผู้ผลิตอาหารชั้นนำของโลก ที่ให้ความสำคัญกับการการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน และให้ความใส่ใจในประเด็นที่ผู้มีส่วนได้เสียให้ความสนใจ โดยเฉพาะประเด็นเรื่องการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร ซึ่งบริษัทฯ ตระหนักว่า เป็นการลดทอนโอกาสในการเข้าถึงแหล่งอาหารของกลุ่มเปราะบาง อีกทั้งเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ก่อให้เกิดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกอันจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นสาเหตุที่สำคัญของภาวะโลกรวน (Climate Change)
บริษัทฯ จึงมุ่งมั่นบริหารจัดการ เพื่อลดการสูญเสียอาหาร (น้ำตาล) ที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต และขยะอาหาร ตลอดห่วงโซ่คุณค่า เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความยั่งยืนในการผลิตและการบริโภค สร้างความมั่นคงทางอาหาร และการลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อีกทั้งสนับสนุนการตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ (United Nations Sustainable Development Goals) ข้อที่ 12.3 อีกด้วย
ขอบเขต
นโยบาย และแนวปฏิบัติฉบับนี้บังคับใช้กับบริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด และบริษัทย่อย ที่ดำเนินธุรกิจผลิตน้ำตาลในประเทศไทย ซึ่งจะมีการสื่อสารให้พนักงานทุกคนในบริษัทรับทราบโดยทั่วกัน
นิยาม
“บริษัทฯ” / “บริษัท น้ำตาลมิตรผล” |
หมายถึง บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด และบริษัทย่อยตามงบการเงินรวมในประเทศไทย |
การสูญเสียอาหาร (Food Loss) |
หมายถึง การสูญเสียน้ำตาลในขอบเขตการดำเนินงานของมิตรผล ตั้งแต่การสูญเสียอ้อยในขั้นตอนการรับอ้อย |
เข้าสู่กระบวนการผลิตน้ำตาล การสูญเสียน้ำตาลในกระบวนการผลิต เช่น การสูญเสียน้ำตาลในชานอ้อย โมลาส |
กากหม้อกรอง การสูญเสียน้ำตาลด้วยจุลินทรีย์หรือความร้อน หรือการสูญเสียโดยไม่ทราบสาเหตุ |
(Undetermined Loss) การสูญเสียจากการจัดเก็บ และการขนส่งของบริษัทฯ ไปสู่ลูกค้า |
ขยะอาหาร (Food Waste) |
1. หมายถึง น้ำตาลที่เสื่อมสภาพ (จับตัวเป็นก้อน) หลังจากลูกค้ารับมอบน้ำตาลจากบริษัท โดยครอบคลุมตั้งแต่การ |
ขนส่ง หรือการจัดเก็บเพื่อนำน้ำตาลไปเป็นวัตถุดิบในการผลิตแปรรูปของลูกค้า ซึ่งการเสื่อมสภาพดังกล่าวนั้น |
เกิดจากความผิดพลาดของบริษัทฯ ลูกค้าสามารถขอเปลี่ยนทดแทนได้กับบริษัทฯ และบริษัทฯ จะนำขยะอาหาร |
(น้ำตาลที่เสื่อมสภาพ) กลับเข้าสู่กระบวนการผลิตได้ใหม่อีกครั้ง |
2. หมายถึง น้ำตาลถูกทิ้งที่เหลือจากการบริโภค |
แนวทางปฏิบัติ
เพื่อให้มั่นใจว่าการบริหารจัดการ การสูญเสียอาหาร และขยะอาหาร มีความสอดคล้องกับหลักการ การผลิต และการบริโภคอย่างยั่งยืนตลอดห่วงโซ่คุณค่า บริษัทฯ จึงได้กำหนดแนวทางปฏิบัติไว้ดังนี้
1. การลดการสูญเสียในการดำเนินงานตลอดห่วงโซ่คุณค่าของมิตรผล |
|
อ้อยและน้ำตาลทราย |
|
วางแผนทุกขั้นตอนที่มีประสิทธิภาพตลอดกระบวนการผลิต ตั้งแต่การควบคุมกระบวนการ การควบคุม |
คุณภาพ การเก็บรักษา และการตรวจสอบ และการเพิ่มมูลค่าผลผลิตพลอยได้ |
|
มาใช้ประโยชน์ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนและมาตรฐานความปลอดภัยอาหาร ซึ่งก่อให้เกิด |
ประโยชน์ต่อสังคม ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ |
|
|
ผู้บริโภค เพื่อลดปริมาณขยะอาหาร |
2. การส่งเสริม และสร้างความตระหนักให้กับผู้มีส่วนได้เสียตลอดห่วงโซ่คุณค่า |
|
น้ำตาลให้แก่ผู้มีส่วนได้เสีย เช่น ลูกค้า คู่ค้าธุรกิจ และเกษตรกร ด้วยกิจกรรม โครงการความร่วมมือ |
ต่างๆ การสื่อสาร การให้ความรู้ และการรณรงค์ |
3. การรายงานและสื่อสารผลการดำเนินงาน |
|
ประกาศ ณ วันที่ 13 สิงหาคม 2564
(นายบรรเทิง ว่องกุศลกิจ)
ประธานกรรมการบริษัท กลุ่มมิตรผล